การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยห้องเรียนกลับด้านร่วมกับ Edpuzzle ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง และ ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
คำสำคัญ:
Edpuzzle, ห้องเรียนกลับด้าน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลัง เรียนด้วยห้องเรียนกลับด้านร่วมกับ Edpuzzle เรื่อง เลขยกกำลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 60 ด้วยห้องเรียนกลับด้าน ร่วมกับ Edpuzzle เรื่อง เลขยกกำลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) ศึกษาความพึงพอใจทางการ เรียนคณิตศาสตร์ด้วยห้องเรียนกลับด้านร่วมกับ Edpuzzle เรื่อง เลขยกกำลัง ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนจันทร์ ประดิษฐารามวิทยาคม กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 33 คน ซึ่งได้มาจาก วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการ จัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง ด้วยห้องเรียนกลับด้านร่วมกับ Edpuzzle ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 3 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 20 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย (p) 0.21 - 0.71 ค่า อำนาจจำแนก (r) 0.21 - 0.71 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 3) แบบประเมินความพึงพอใจทางการ เรียนคณิตศาสตร์ด้วยห้องเรียนกลับด้านร่วมกับ Edpuzzle ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ตามวิธีของลิเคอร์ท (Likert) จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังเรียนด้วยห้องเรียนกลับด้านร่วมกับ Edpuzzle เรื่อง เลขยก กำลังของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังเรียนด้วยห้องเรียนกลับด้านร่วมกับ Edpuzzle เรื่อง เลขยก กำลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ความพึงพอใจทางการเรียนคณิตศาสตร์ด้วยห้องเรียนกลับด้านร่วมกับ Edpuzzle เรื่อง เลขยกกำลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Downloads
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2563). การออกแบบสื่อการศึกษาสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชลธิชา วิมลจันทร์. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง อัตราส่วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน.
ชีวาพร ทรัพย์เพ็ชร, กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล, วุฒินันท์ ไอยราพัฒนา, วิทยา ซิ้มเจริญ และอรพรรณ ดวงแข. (2561). การศึกษาทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเทคนิคกลุ่มสืบค้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์ คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 5(2), 341-358.
นรินธน์ นนทมาลย์. (2561). วิดีโอปฏิสัมพันธ์ในการเรียนแบบเปิดในศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(4), 211-227.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปัทวรรณ ประทุมดี. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนบนเว็บ เรื่อง การเคลื่อนที่ 2 มิติ เพื่อส่งเสริมความสามารถการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คณะการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์.
พันทิพา อมรฤทธิ์. (2561). เทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างความรู้และสร้างสรรค์สื่อบทเรียนปฏิสัมพันธ์กระตุ้นการเรียนรู้. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พิชญ์สินี เพรชดี, รุ่งระวี ด่อนสิงหะ และสุภาณี เส็งศรี. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม โดยใช้รูปแบบห้องเรียนกลับด้าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยนเรศวร, 5(1), 203-219.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ, (2559). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: เฮาส์ ออฟเคอร์มิสท์.
ยุภาพร ด้วงโต้ด. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้านเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร.
ฤทธิไกร ไชยงาม. (2565). มาตรวัดเจตคติแบบลิเคอร์ (Likert rating scales)., สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2565. จาก https://www.gotoknow.org/posts/659229.
วิชัย พัวรุ่งโรจน์. (2560). แนวโน้มวิธีการสอนยุคใหม่ด้วยเครื่องมือประเมินผลระหว่างเรียนออนไลน์. เลย: สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร
แห่งประเทศไทย จำกัด.
สุรัชนา ช้างชายวงค์, ธงชัย อรัญชัย. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้แอปพลิเคชันงานชั้นเรียน. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุสาหกรรม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(15), 23-35.
สุรชัย สุขรี. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุสาหกรรม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 4(11), 68-85.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง