การใช้แนวคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบกว้าง เพื่อเพิ่มพูนความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
แนวคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเอง, เทคนิคการอ่านแบบกว้าง, ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบและศึกษาผลของความสามารถในการอ่าน ภาษาอังกฤษของผู้เรียน ก่อนและหลังการเรียนโดยใช้การใช้แนวคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับ เทคนิคการอ่านแบบกว้าง กลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ที่ลงทะเบียน เรียนวิชา การแปลเบื้องต้น (1553201) ภาคเรียนที่ 2/2562 จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการสอนอ่านภาษาอังกฤษ จำนวน 8 แผน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของผู้เรียนหลังการเรียนโดยใช้แนวคิดการสร้าง ความรู้ด้วยตนเองร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบกว้างเพิ่มขึ้นจากระดับปานกลางเป็นระดับดี
2. ผลการศึกษาการใช้แนวคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบกว้าง ผู้เรียนเกิดทักษะในการเรียนรู้ พัฒนาตนเอง สามารถนำทักษะที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้และดำรงชีพได้
Downloads
References
ฉัตรปวีณ อำภา. (2555). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวข้องกับการสอนอ่านภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ. ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ดรุณนภา นาชัยฤทธิ์. (2550). ผลการเรียนจากบทเรียนมัลติมีเดียบนระบบเครือข่ายที่พัฒนาตามแนวคอนสตรัคติวิสต์เรื่องการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการศึกษาในห้องเรียนของนิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทิฏิ์ภัทรา สุดแก้ว. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบสร้างองค์ความรู้ตาทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ผ่านเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (เทคโนโลยีทางการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
ฝนทิพย์ นัดทะยาย และฉลอง พันธ์จันทร. (2558). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ประกอบการใช้สถานการณ์จำลองเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีปีที่ 15 ฉบับที่ พิเศษตุลาคม – ธันวาคม 2558 หน้า 117-128.
พรพิมล ประสงค์พร. (2557). การเสริมสร้างสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา (CLIL). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยายาลัยขอนแก่น. ฉบับที่ 37 กรกฎาคม - กันยายน 2557 หน้า 81-88.
สุมาลี ชัยเจริญ. (2551). เทคโนโลยีการศึกษาและการพัฒนาระบบการสอน. ขอนแก่น: ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อมฤตา โอมณี. (2558). การใช้วิธีการอ่านแบบกว้างขวางในการพัฒนาสมรรถนะการอ่านภาษาอังกฤษ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทัศนคติและนิสัยการอ่านภาษาอังกฤษ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Brooks, M., and Grennan Brooks, J. (1999). The Constructivist Classroom: The Courage To Be Constructivist. Journal of Educational Leadership, pp.18-24.
Jonassen, D. H. (1999). Designing constructivist learning environments. In C.M. Reigeluth (Ed.), Instructional-design theories and models, 2nd Ed. Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.
Light, R., & Wallian, N. (2008). A constructivist-informed approach to teaching swimming. Quest, 60(3), 387-404.
Martin, Ralph E. (1994). Teaching Scheme for all Children. Boston: A division of Simon & Schuster Inc.
Piaget, J. (1972). The Principles of Genetic Epistemology. New York: Basic.
Syrja, R. C. (2011). How to reach and teach English language learners: Practical strategies to ensure success (Vol. 4). John Wiley & Sons.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง