การพัฒนาทักษะการฟังและพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกแบบผสมผสาน

ผู้แต่ง

  • นิศราภรณ์ ชาติโสม ครูโรงเรียนอนุบาลบางละมุง จังหวัดชลบุรี
  • ทัศนี วรรณทอง ครูโรงเรียนอนุบาลบางละมุง จังหวัดชลบุรี
  • พลธาวิน วัชรทรธำรงค์ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลบางละมุง จังหวัดชลบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนาทักษะการฟังและพูดภาษาอังกฤษ, นักเรียน, กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกแบบผสมผสาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อการพัฒนาทักษะการฟังและพูดภาษาอังกฤษของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกแบบผสมผสาน และ 2) เพื่อศึกษาความ พึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกแบบ ผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวนประชากร 31 คน โดยการสุ่มแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1. แผนการจัดการเรียนรู้ 2. แบบทดสอบการฟังและพูด ใช้วัดผลก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 1 ชุด 3. สื่อมัลติเมียเดีย และ 4. แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ t-test, z-score, ค่าเฉลี่ย (%) และร้อยละ (𝑥̅)
ผลการวิจัย พบว่า
1) ผลจากการพัฒนาทักษะการฟังและพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกแบบผสมผสาน พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน ทำให้ผลสัมฤทธิ์พัฒนาขึ้นเป็นไปตามที่คาดหวัง
2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เชิงแบบผสมผสาน (Blended Active learning) ระดับ มากที่สุด โดยดูในรายละเอียดพบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด 3 อันดับ คือ นักเรียนกล้าที่จะใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกแบบ ผสมผสาน ทำให้นักเรียนเกิดความสนุกสนานสนุกสนาน นักเรียนสามารถสนทนาประโยคภาษาอังกฤษ ง่ายๆ ได้ ตามลำดับ ระดับความพึงพอใจที่น้อยที่สุด 3 อันดับ คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกแบบ ผสมผสาน ส่งเสริมให้ครูมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีนักเรียนสามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติได้ การจัดกิจกรรมเชิงรุก และผสมผสาน ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และประสบการณ์มากขึ้น ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

References

จารุพร ตั้งพัฒนกิจ. (2563). วารสารบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์. เชียงใหม่ : ราชมงคลล้านนา

ชายุดา จันทะปิดตา. (2555). การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบัวหลวงวิทยาคม : บุรีรัมย์.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2553). Active Learning. ข่าวสารวิชาการ. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทัศนีย์ ทองศร. (2558). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้บทบาทสมมติ. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ. สูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธีราภรณ์ กิจจารักษ์. (2553). ปัจจัยที่มผลต่อการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 2. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ณัชนัน แก้วชัยเจริญกิจ. (2550). ภาวะผู้นำและนวัตกรรมทางการศึกษา: บทบาทของครูกับ Active Learning. สืบค้นจาก http://www.pochanukul.com ข้อมูลเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2560.

นนทลี พรธาดาวิทย์. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบ Active learning (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

พุฒินาท ปัตฐานัง. (2560). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบสะกดคำประกอบการเรียนรู้แบบ. มหาวิทยาลัยสารคาม.

พรสวรรค์ สีป้อ. (2550). สุดยอดวิธีสอนภาษาอังกฤษ นำไปสู่การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.กลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI การเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย

มยุรา วิริยเวช. (2559). บทบาทของผู้ปกครองคนไทยในการส่งเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย: กรณีศึกษา ในโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฤทัยรัตน์ ศรีพวงมาลัย (2561) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการจัดการเรียนรู้ผ่านพอดคาสต์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหนองกุงศาลาน้้าเที่ยงวิทยากร.กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศิลปกร

วาสนา สิงห์ทองลา. (2555). การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสาร. วารสารศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Jordan, M. (2007). What a podcast is - and everything you need to know about podcasting. Retrieved from http://www.americanchronicle.com/articles/viewArticle.asp?articleID=47099

Krashen, Stephen D. and Terrell, Tracy D. (1983). The Natural approach. Oxford : Pergamon Press.

Garnham, C., & Kaleta, R. (2002). Introduction to hybrid courses. Teaching with Technology Today, 8(6). Retrieved May 5, 2015, from http://www.uwsa.edu/ttt/articles/garnham.htm

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-14