การศึกษาความต้องการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของ ผู้บริหารสถานศึกษาในเขตเมืองพัทยา

ผู้แต่ง

  • พลธาวิน วัชรทรธำรงค์ ผู้บริหารสถานศึกษาอนุบาลบางละมุง
  • ธนาวดี ทองอ้ม ผู้บริหารสถานศึกษาอนุบาลบางละมุง
  • ศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ความต้องการในการพัฒนา, ทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร, ผู้บริหารสถานศึกษาในเขตเมืองพัทยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความ ต้องการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตเมืองพัทยา 2) เปรียบเทียบความต้องการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตเมือง พัทยา จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และสังกัดของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางการ พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตเมืองพัทยา โดยกลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 168 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 34 คน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 86 คน และ สังกัดเทศบาลและเมืองพัทยา 48 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และสถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Independent samples และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)
ผลการวิจัย พบว่า
1) ความต้องการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาในเขต เมืองพัทยาโดยรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅= 4.28) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก เช่นเดียวกัน เมื่อเรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านทักษะการฟัง (𝑥̅= 4.42) ด้านทักษะ การพูด (𝑥̅= 4.30) ด้านทักษะการอ่าน (𝑥̅= 4.26) และด้านทักษะการเขียน (𝑥̅= 4.14) ตามลำดับ
2) เปรียบเทียบความต้องการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้บริหาร สถานศึกษาในเขตเมืองพัทยาจำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และสังกัดของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ทั้ง โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
3) แนวทางการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตเมือง พัทยา มีดังนี้
3.1 แนวทางการพัฒนาทักษะการฟัง ได้แก่ การพัฒนาการออกเสียงจากการฟังในห้องฝึก ฟัง การฟังจากโปรแกรมสำเร็จรูป การฟังจากการสนทนากับเจ้าของภาษา การฝึกฟังจากการชม ภาพยนตร์ การฟังข่าวสารจากรายการวิทยุโทรทัศน์ ฟังการสนทนากับการชาวต่างประเทศ ฟัง ภาษาอังกฤษจากโปรแกรมสำเร็จรูป ฟังการบรรยายทางวิชาการ การประชุมสัมมนาจากวิทยากร ชาวต่างชาติ และการฟังการบรรยายจากการศึกษาดูงานที่เป็นภาษาอังกฤษ เป็นต้น
3.2 แนวทางการพัฒนาทักษะการพูด ได้แก่ การพัฒนาการออกเสียง การฝึกพูดจากเทป หรือ โปรแกรมสำเร็จรูป การฝึกสนทนากับเจ้าของภาษา การฝึกสนทนากับครูภาษาอังกฤษที่เป็นคนไทย การอบรมการพูดในที่สาธารณะ การสนทนาในชีวิตประจำวัน การพูดโทรศัพท์ การแสดงความคิดเห็นใน ที่ประชุม การกล่าวต้อนรับ การแนะนำสถานศึกษา การนำเสนอผลงานทางการศึกษา การพูดเชิงวิชาการ และการเจรจาขอความช่วยเหลือ เป็นต้น
3.3 แนวทางการพัฒนาทักษะการอ่าน ได้แก่ การฝึกอ่านในใจเพื่อเก็บใจความสำคัญ การ ฝึกอ่านออกเสียง การฝึกหาความหมายของคำศัพท์จากพจนานุกรม การฝึกเดาความหมายของคำศัพท์ ประโยค ข้อความจากบริบท การอ่านป้ายประกาศ การอ่านเอกสารทางวิชาการ บทความทางวิชาการ และรายงานการวิจัย การอ่านจดหมาย อ่านหนังสือพิมพ์ การอ่านข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต การอ่าน ข้อความและเนื้อหาจากสื่อสังคมออนไลน์ เป็นต้น
3.4 แนวทางการพัฒนาทักษะการเขียน ได้แก่ การพัฒนาความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ โครงสร้างประโยค ไวยากรณ์ การฝึกเลือกประโยคและสำนวนภาษาให้ถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ การจดบันทึกการบรรยายทางวิชาการ การเขียนจดหมาย การเขียนข้อมูลข่าวสารอิเลคทรอนิกส์ (E-Mail) และการกรอกแบบฟอร์มเอกสารต่าง ๆ เป็นต้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

ชนิกานต์ ป้องคูหลวง. (2556). ศึกษาความต้องการการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ฐิตารีย์ จันทรวัทน์และสุทัศน์ เทียมกีรกุล. (2552). ความต้องการและเจตคติในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของ

ณฐพร มูลอำคา. (2560). การศึกษาความต้องการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.นักศึกษาอาชีวศึกษาพิษณุโลก. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ,มหาวิทยาลัยนเรศวร.

บุญเกิด กลมทุกสิ่ง. (2557). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษาอังกฤษสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาการการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระมหาสังเวช ศรีโคตร และทวีศักดิ์ ชูมา. (2559). แนวทางการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยใช้รูปแบบกลวิธีการสื่อสาร. สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต ประจำ ปี 2559. วิทยาลัยสงฆ์เลย มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หน้า 366-376.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2550). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาพิมล ชาติพหล. (2550). ปัญหาและความต้องการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของพนักงานบริษัทบริษัทเอ็กโก เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์เซอร์วิส จำกัด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

รัชพินทร์ กิจนุสนธิ์. (2545). ความต้องการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของผู้บริหารสถานศึกษา. สังกัดกรมอาชีวศึกษา เขตการศึกษาที่ 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

วันวิสา วิเชียรรัตน์. (2561). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาวิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ศิริวรรณ เลห์ไมเออร์. (2554). การศึกษาปัญหาและความต้องการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของปลัดอําเภอในจังหวัดขอนแก่น. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาอังกฤษ, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. (2564). การดำเนินงานพัฒนาบุคลากรแบบมืออาชีพ.ชลบุรี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). รายงานผลการจัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

เอกพจน์ สิงห์คำ. (2560). การศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางในการพัฒนาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of Psychological Testing. (5th ed.). New York: Harper & Row.

Iftimie, N.-M. (2015). Developing English Communication Skills in a Different Cultural Context: Matches and Mismatches. Revista Romaneasca pentru Educatie Multidimensionala, 7(1), 169-180.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.

Marc J. Riemer. (2016). English and Communication Skill, published in University of Sydney, Australia.

Panida Karachedee. (2017). Needs for English Communication Skills of Thai Employees in a Multinational Company. Master Degree of Human Resource Development, Department of International Graduate Studies in Human Resource Development, Faculty of Education Burapha University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-14