ความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน รายวิชาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป รายวิชา คุณค่าของความสุข

ผู้แต่ง

  • จิรัฐ ชวนชม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร
  • บุญญลักษณ์ ตำนานจิตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร
  • วรัตต์ อินทสระ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนการสอน, ความคิดเห็น, วิชาศึกษาทั่วไป, คุณค่าของความสุข

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน รายวิชาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป รายวิชา คุณค่าของความสุข และ เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการ สอนรายวิชาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป รายวิชา คุณค่าของความสุขให้ดีขึ้น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักศึกษาที่ ลงทะเบียนเรียนรายวิชาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป รายวิชา คุณค่าของความสุข มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จำนวน 222 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม จำนวน 4 ด้าน ประกอบไปด้วย ด้านวัตถุประสงค์ของการ เรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน ด้าน คุณลักษณะของผู้สอน
ผลการศึกษา พบว่า ความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนรายวิชาหมวดวิชา ศึกษาทั่วไปรายวิชาคุณค่าของความสุขในภาพรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณาเป็นรายด้าน ด้านคุณลักษณะของ ผู้สอน เป็นอันดับแรก อันดับรองมา คือด้านวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน และด้านการวัดและประเมินผล การเรียนการสอน มาอันดับสุดท้าย โดยทั้งสี่ด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน สำหรับแนวทางการพัฒนาการจัดการ เรียนการสอนโดยการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ควรมีการนำ ผู้เรียนไปทัศนศึกษาหอศิลป์ที่ต่าง ๆ หรืองานแสดง เพื่อเพิ่มประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพิ่มขึ้น การวาง โครงสร้างการทำงานกลุ่มและการสลับหมุนเวียนกันทุกครั้ง ต้องมีการรู้จักนักเรียน

Downloads

Download data is not yet available.

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พิมพฤทธิ์ เที่ยงภักดิ์. (2561). การประเมินความคิดเห็นของนักศึกษาต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตร บัณฑิตวิชาชีพครูวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 8 (ฉบับพิเศษ), 181-189.

พระมหาอัมราช อมรเสวี. (2561). การศึกษาแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนของครูและนักเรียน สำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม กรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 5(3), 199-209

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. (2564). หลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป. กรุงเทพฯ. ศูนย์บริการสื่อและสิ่งพิมพ์กราฟฟิคไซท์.

รัศมี ศรีนนท์และคณะ. (2561). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(2), 331 – 343.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2559). สกอ.พัฒนานักศึกษาสู่ Thailand 4.0. อนุสารอุดมศึกษา, 43, 462: 10-13.

อรทัย รุ่งวชิรา เศวตาภรณ์ตั้งวันเจริญ และ กาญจนา เกียรติกานนท. (2564). การจัดการเรียนนรู้ในโลกยุคใหม่เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะคนยุคใหม่. วารสารครุทรรศน์, 1(1), 96-101.

อรนุช ลิมตศิริ. (2560). การศึกษานอกห้องเรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(3), 1643-1658.

วิฆเนศวร ทะกองและคณะ. (2562). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 2(1), 14-31.

Athman,J and Monroe, M.C. (2015). Enhancing Natural Resource Programs with Field Trips. From http://edis.ifas.ufl.edu/fr135.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. 2nd Edition, New York, Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-14