มุมมองของครูประจำการด้านการออกแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดความรู้เนื้อหา ผสานวิธีสอนและเทคโนโลยี

ผู้แต่ง

  • นันท์นภัส นิยมทรัพย์ กลุ่มวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • จินตนา ศิริธัญญารัตน์ กลุ่มวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • บุญสม ทับสาย กลุ่มวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • กชพร รัตนศิริ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยี โรงเรียนวัดหนองลาน จังหวัดกาญจนบุรี
  • จินดาหรา โก้เครือ สาขาวิชาภาษาไทย โรงเรียนวัดศรีวิสารวาจา จังหวัดนครปฐม
  • ฐิติพันธุ์ บัวเจริญุ กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร
  • ธัญญารัตน์ นาทะชัย สาขาวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนวัดเจ็ดริ้ว (สาครกิจโกศล) จังหวัดสมุทรสาคร
  • นฤมล โก้เครือ โรงเรียนภัทรญาณวิทยา จังหวัดนครปฐม

คำสำคัญ:

การออกแบบการเรียนการสอน, มุมมองของครู, ทีแพ็ค, ความรู้เนื้อหาผสานวิธีสอนและเทคโนโลยี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ความสามารถในการออกแบบการเรียนการ สอนตามแนวคิดความรู้เนื้อหาผสานวิธีสอนและเทคโนโลยี (TPACK) ของครูประจำการ และ 2) ศึกษา ปัญหาและแนวทางการพัฒนาครูในการออกแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด TPACK ของครูประจำการ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มครูจำนวน 70 คน ที่เข้าร่วมการสัมมนาทางวิชาการที่จัดโดยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความสนใจพัฒนาการเรียน การสอนตามแนวคิด TPACK เป็นการสุ่มตัวอย่างแบบจำกัด (concentration sampling) เครื่องมือที่ใช้คือแบบประเมินการรับรู้ความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด TPACK แบบมาตรา ส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 และคำถามปลายเปิด 2 ข้อ
ผลการวิจัยพบว่า
1) การรับรู้ความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด TPACK ของครู ประจำการโดยรวมและรายด้านทั้งด้านเนื้อหาผสานวิธีสอน (PCK) ด้านเนื้อหาผสานเทคโนโลยี (TCK) ด้านเทคโนโลยีผสานวิธีสอน (TPK) และด้านความรู้เนื้อหาผสานวิธีสอนและเทคโนโลยี (TPCK) อยู่ใน ระดับมาก เมื่อจำแนกตามกลุ่มประสบการณ์สอนพบว่าครูที่มีประสบการณ์สอนไม่เกิน 1 ปี รับรู้ ความสามารถโดยรวมของตนเองในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มอื่นนอกนั้นอยู่ในระดับมาก
2) ปัญหาในการออกแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด TPACK คือ บริบทโรงเรียนและ นักเรียนที่มีข้อจำกัดของอุปกรณ์เทคโนโลยีและระบบอินเทอร์เน็ต ครูยังขาดประสบการณ์ในการใช้ TPACK ในชั้นเรียน และการเลือกเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับบริบท ส่วนแนวทางการพัฒนาครูควรมุ่งเน้น ความรู้วิธีสอนผสานเทคโนโลยี (TPK) เป็นหลัก

Downloads

Download data is not yet available.

References

ดิเรก พรสีมา. (2562). ทำอย่างไรประเทศของเรา จึงจะได้ครูที่ใช้ความรู้ทีพีซี (TPCK) ในการประกอบวิชาชีพ? : มติชนออนไลน์. เข้าถึงได้จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_1528204 วันที่ 23 กรกฎาคม 2566

ต้องตา สมใจเพ็ง, ชนิศวรา เลิศอมรพงษ์ และเอกภูมิ จันทรขันตี. (2559). การรับรู้ด้านความรู้และความสามารถในการสอนเนื้อหาวิชาเฉพาะโดยใช้เทคโนโลยี (TPACK) ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 31(1), 63-73.

บุญชม ศรีสะอาด. (2561). การแปลผลเมื่อใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า. การวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2(1), 64-70.

ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ และพรสุข ตันตระรุ่งโรจน์. (2558). ผลของการใช้คำถามประเมินตนเองและการประเมินโดยเพื่อนเพื่อเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถ ของตนเองและความรู้บูรณาการTPACK ด้านการออกแบบสื่อดิจิทัลของนิสิตครู. วารสารครุศาสตร์, 43(4), 129-145.

พลธาวิน วัชรทรธำรงค์ และศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนบางละมุง 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วารสารครุศาสตร์สาร, 16(2), 219-231.

มะนาแซ มะเดหมะ และณัฐชัย วงศ์ศุภลักษณ์. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักการบูรณาการความรู้เทคโนโลยีกับวิธีการสอนและเนื้อหา (TPACK) ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี: การวิเคราะห์ไมมิค. วารสารครุศาสตร์สาร, 16(2), 265-281.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

ลิลลา อดุลยศาสน์. (2561). ผลของการพัฒนาความรู้ในการบูรณาการเทคโนโลยีกับวิธีสอนและเนื้อหาที่สอน (TPACK) ของนักศึกษาครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 13(1), 115-128.

วสุพงษ์ อิวาง. (2566). การศึกษาความรู้เนื้อหาผนวกวิธีการสอนและเทคโนโลยีสำหรับครูสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4. วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 3(1),138-152.

วันดี เสาหิน. (2544). เทคนิคการสุ่มตัวอย่างและการกำหนดขนาดตัวอย่าง. สุทธิปริทัศน์, 15(47), 80-87.

ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ. (2559). ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีของครูวิทยาศาสตร์ เพื่อการจัดการเรียนรู้บูรณาการบริบทชุมชนท้องถิ่นและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 12(2), 107-139.

ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ. (2562). ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาในประเทศไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 34(1), 51-64.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2558). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2565). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ชุดนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลทางการศึกษา ฉบับราชบัณฑิตสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2558). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี: การนำเทคโนโลยีสู่ห้องเรียนและโรงเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 17(4), 216–224.

สุรัสวดี ควรหา และสุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การประเมินความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครูโรงเรียนสุนันทาวิทยา ตามแนวคิดความรู้เนื้อหาผสานวิธีสอนและเทคโนโลยี. An Online Journal of Education, 14 (2), OJED1402001 (13 pages). Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view /183266

อรอุมา สิงห์สวัสดิ์, ศิริรัตน์ ศรีสะอาด และนาตยา ปิลันธนานนท์. (2565). TPACK ในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์: TPACK ในฟิสิกส์. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 9(1), 316-326.

Harris, J. B., Mishra, P., & Koehler, M. (2009). Teachers' technological pedagogical content knowledge and learning activity types: Curriculum-based technology integration reframed. Journal of Research on Technology in Education, 41(3), 393-416.

Jalani, G., Hussain, S., Amin, N., & Hussain, D. (2021). Self-Assessment of Prospective Teachers’ Technological Pedagogical and Content Knowledge (TPACK). Journal of Educational Sciences & Research, 8(1), 97–116.

Jiménez Sierra, Á.A., Ortega Iglesias J.M., Cabero-Almenara J. & Palacios-Rodríguez, A. (2023) Development of the teacher’s technological pedagogical content knowledge (TPACK) from the Lesson Study: A systematic review. Frontiers in Education. https://doi.org/10.3389/feduc.2023.1078913

Kaewsri, T., Sengsri, S. & Kongmanus, K. (2023). A Study of the Results of Self-Assessment in Technological Pedagogical and Content Knowledge (TPACK) of Science Teachers of the Secondary Educational Service Area Office Kamphaeng Phet. Journal of Professional Routine to Research (JPR2R), 10(1), 11-18.

Koehler, M. J. (2012). TPACK Explained. Retrieved from http://tpack.org/, July, 23 2023.

Mishra, P. (2019). Considering Contextual Knowledge: The TPACK Diagram Gets an Upgrade. Journal of Digital Learning in Teacher Education. DOI: https://doi.org/10.1080/21532974.2019.1588611

Rolando, L.G.R., Salvador, D.F., Vasconcellos, R.F.R.R., & Luz, M.R.M.P.D. (2021). TPACK for Meaningful Learning Survey: “Paths” for Professional Development of Biology Teachers in Brazil. Turkish Online Journal of Educational Technology - TOJET, 20(2), 169–181.

Windianingsih T., Susanti, N. & Alrizal, A. (2023). Analysis of TPACK (Technological Pedagogical and Content Knowledge) variables for middle school teachers through surveys in the Pasar Jambi district. Jurnal Riset Dan Kajian Pendidikan Fisika, 10(1), 1–9. https://doi.org/10.12928/jrkpf.v10i1.198

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-14