แผนกิจกรรมการสอนตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่าน จับใจความสำคัญ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
คำสำคัญ:
แผนกิจกรรมการสอน, ทฤษฎีพหุปัญญา, การอ่านจับใจความสำคัญบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนกิจกรรมการสอนตามแนว ทฤษฎีพหุปัญญาของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่าน จับใจความสำคัญของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลัง การใช้แผนกิจกรรมการสอนตาม แนวทฤษฎีพหุปัญญา และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังจากการใช้ แผนกิจกรรมการสอนตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านสวนหลวง (สวนหลวงวิทยายน) จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนกิจกรรมการสอนตามแนวคิดพหุปัญญา แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านจับใจความ สำคัญ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และประเภทนันพาราเมตริก Wilcoxon Signed Ranks Test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการหาประสิทธิภาพของแผนกิจกรรมการสอนตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา มีค่าดัชนีความ สอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.67–1.00
2. ผลคะแนนความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
3. ผลหลังจากจัดกิจกรรมการสอนด้วยแผนกิจกรรมการสอนตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อ ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (𝑥̅=3.54, S.D.=0.56)
Downloads
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
กาญจนา ไชยเสนา (2556). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์วิชาภาษาไทยชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีพหุปัญญา. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม). สืบค้นจาก https://tdc.thailis. or.th/tdc
ชลิดา ฟักหว่าง. (2558). การจัดการเรียนรู้แบบพหุปัญญาที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย. การประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ, 2553(3), 724-729.
ปิลันธร ชินกร. (2558). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์แนวคิดทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านจับใจความและการเขียนสื่อความวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม). สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc
มยุรีย์ แพงชัย. (2558). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนตามทฤษฎีพหุปัญญา เรื่อง ภูมิใจภาษาไทยของเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 8(21), 55-64.
วรรณี โสมประยูร. (2553). การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2564). พหุปัญญาในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สถาพร แก้วภูมิแห่. (2555). ผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีพหุปัญญา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น). สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564, 5 พฤษภาคม). รายงานผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563. สืบค้นจาก http://180.180.244.43/NT/ExamWeb/FrLogin.aspx?ReturnUrl=%2fNT%2fExamWeb%2f
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่พหุปัญญา. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). คู่มือการคัดกรองและพัฒนาพหุปัญญา. สมุทรปราการ: บริษัท เอส.บี.เค.การพิมพ์ จำกัด.
สำลี รักสุทธี. (2553). สอนเด็กอย่างไรให้เด็กอ่านนออก อ่านได้ อ่านคล่อง อ่านเป็น เขียนได้ เขียนคล่องและเขียนเป็น. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.
สิปปกร บุนนาค. (2564). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาร่วมกับผังกราฟิก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร). สืบค้นจาก http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/3858/1/61255409.pdf
อรพินทร์ ชูชม. (2552). การวิจัยกึ่งทดลอง. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 15(1), 1-15.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง