การออกแบบกระบวนการเรียนรู้สำหรับปรับพื้นฐานการอ่าน การพูด และการเขียน ภาษาไทย แก่นักเรียนชาติพันธุ์ มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แม่แจ่ม

ผู้แต่ง

  • ลัดดาวัลย์ มาเมือง โรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แม่แจ่ม
  • พรสวรรค์ สุวรรณสันติชัย โรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แม่แจ่ม
  • ปัทมา กุออ โรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แม่แจ่ม
  • หัสยา จุ้ยสกุล โรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แม่แจ่ม
  • นิฤมล ใจเหล็ก โรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แม่แจ่ม
  • จีรเดช จานเก่า โรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แม่แจ่ม
  • ปิยราช สมบัติ โรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แม่แจ่ม
  • สิงหา แซ่ตึ้ง โรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แม่แจ่ม
  • มนัส ยิ่งวิทยาคุณ โรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แม่แจ่ม
  • อนันต์ สุขสันต์ฤทัย โรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แม่แจ่ม
  • สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ โรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แม่แจ่ม

คำสำคัญ:

พื้นฐานการเรียน, นักเรียนชาติพันธุ์, การออกแบบกระบวนการเรียนรู้

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้านทักษะการอ่าน การพูด และการเขียนภาษาไทย 2) วัดประสิทธิภาพของกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการอ่าน การพูด และ การเขียนภาษาไทยแก่นักเรียนโรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มศว แม่ แจ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ที่เป็น นักเรียนชาติพันธุ์และมีปัญหาด้านการอ่าน การพูด และการเขียนภาษาไทย จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการอ่าน การพูด และการเขียนภาษาไทย 2) แบบทดสอบการวัดความรู้พื้นฐานการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีสำหรับ กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน โดยมีผลการหาคุณภาพเครื่องมือแผนการจัดการเรียนรู้ดัชนีความสอดคล้อง (IOC) โดยได้ค่า IOC ที่ 0.95 และแบบทดสอบการวัดความรู้พื้นฐานการเรียนรู้ของผู้เรียน วิเคราะห์ดัชนี ความสอดคล้อง (IOC) โดยได้ค่า IOC ที่ 0.80
ผลการวิจัยพบว่า
1) ได้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะด้านการอ่าน การพูด และการเขียนภาษาไทย จำนวน 16 แผน
2) ผลการประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะด้านการอ่าน การพูด และการเขียน ภาษาไทย ที่ผ่านการจัดกระบวนการการเรียนรู้แล้ว มีผลการประเมินสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกระบวนการ การจัดการ เรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมวิชาการ.(2546). คู่มือแนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ณัฐยาน์ การุญ. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลักภาษาไทยและความสนใจในการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 ที่สอนโดยบทเรียนสําเร็จรูปกับการสอนตามคู่มือครู. (ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยศรีนครินทรวิโรฒ,กรุงเทพฯ).

ศรชัย มุ่งไธสง และคณะ. (2560). สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยของนักเรียนบนพื้นที่สูงกลุ่มโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการปีที่ 10 ฉบับพิเศษ.

สายฝน แสนใจพรม และ สำเนา หมื่นแจ่ม. (2565). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับการอ่านและการเขียนของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านใหม่พัฒนาสันติและโรงเรียนบ้านแม่ลางิ้ว. วารสารบัณฑิตวิจัย, 13(2).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2511.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการที่ 1. (2554). การศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการประสานงานของหน่วยงานด้านเยาวชนในระบบโรงเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

อภิรดี ไชยกาล. (2561). การสอนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองสำหรับเด็กชาติพันธุ์เขมรถิ่นไทย

อังคณา สายยศ,และคณะ. (2541). การศึกษาและพัฒนาระดับเชาวน์ปัญญาของนักเรียนประถมศึกษาในอำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก. ภาควิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อาภาภรณ์ ดิษฐเล็ก. (2556). การสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ในแบบเรียนวิชาภาษาไทยของ นักเรียนชาวจีน : กรณีศึกษานักเรียนวิทยาลัยการท่องเที่ยวและการอาชีพ มณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน. วิทยาลัยราชพฤกษ์:นนทบุรี.

Brown, W.B., & Moberg, D.J. (1980). Organization theory and management: Approach. New York :John Wiley and Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-14