คุณธรรม จริยธรรม และความเป็นพลเมืองของผู้เรียนทุกช่วงชั้น ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ

ผู้แต่ง

  • อรทัย ทองฤกษ์ฤทธิ์ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
  • เบญจมาศ ฉลาดการณ์ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
  • ชรินทร์ จันทดี สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
  • สุเชน เลิศวีระสวัสดิ์ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ

คำสำคัญ:

ความเป็นพลเมือง, คุณธรรม, จริยธรรม, ผู้เรียนทุกช่วงชั้น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาคุณธรรม จริยธรรมและความเป็นพลเมืองของผู้เรียนทุกช่วง ชั้นที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา ในสถานศึกษาสังกัด กระทรวงศึกษาธิการ และระดับอุดมศึกษา ในสถานศึกษาสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีการศึกษา 2564 รวม 6 ภูมิภาค โดยการวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งมีการใช้ตัวแบบสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi - Stage Random Sampling) และกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของศิริชัย กาญจนวาสี และคณะ เพื่อให้ ได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างผู้เรียนทุกช่วงชั้นในสถานศึกษาทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 5,040 คน
โดยผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยจากการประเมินคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นพลเมืองของ ผู้เรียนมีความแตกต่างกันตามระดับชั้นของผู้เรียน และส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ และจากผลการประเมินผู้เรียนที่อยู่ในระดับชั้นเดียวกัน เมื่อพิจารณาโดยจำแนกตามเพศและภูมิภาคที่ ต่างกัน พบว่าผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นพลเมืองที่แตกต่างกัน ซึ่งผลการวิจัยนี้อาจไม่ สามารถตีความได้ว่าคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นพลเมืองของผู้เรียนต่ำกว่าเกณฑ์เนื่องจากการเรียน การสอนเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมและความเป็นพลเมือง หากแต่อาจมีตัวแปรอื่นที่ส่งผลต่อแนวคิดของ ผู้เรียนได้ อาทิ สิ่งแวดล้อมด้านครอบครัว ด้านสังคมการเมือง ซึ่งไม่ใช่เป็นเพียงการแก้ปัญหาดังกล่าวใน เชิงการศึกษาเท่านั้น อาจจำเป็นต้องมีการบูรณาการของหน่วยงานรัฐทั้งหมดเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทาง คุณธรรม จริยธรรม และความเป็นพลเมืองที่สังคมต้องการและเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพในศตวรรษที่ 21
อย่างไรก็ตามปัญหาดังกล่าวเป็นความท้าทายของทุกหน่วยงานที่จะต้องบูรณาการกันในทุก มิติ ทั้งในแง่ของการดำเนินการในระดับนโยบาย ระดับอำนวยการ และระดับปฏิบัติเพื่อให้เกิดแนวคิดด้าน คุณธรรม จริยธรรม และความเป็นพลเมืองของผู้เรียนที่ดีในอนาคตต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

ศิริชัย กาญจนวาสี, ดิเรก ศรีสุโข และทวีวัฒน์ ปิตยานนท์. (2554). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2565). แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. https://ops.moe.go.th/%E0%B9%81%E0%B8%2566-2570/

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2565). รายงานผลการประเมินคุณธรรม จริยธรรมและความเป็นพลเมืองของผู้เรียนทุกช่วงชั้น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด. http://www.onec.go.th/index.php/book/BookView/1540

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นการปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม. http://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads/2019/04/10.pdf

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=plan13

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2560). มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 4 ธันวาคม 2560 เรื่อง แนวทางการเสนอแผนเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี https://www.soc.go.th/?s=4+%E0%B8%98.%E0%B8%84.+60&lang=th

อรทัย ทองฤกษ์ฤทธิ์และคณะ. (2561). คุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-14