การศึกษาความพึงพอใจต่อการให้บริการของกองอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผู้แต่ง

  • นิวัฒน์ เจริญศิริ กองอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การให้บริการ, แนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการ, ผู้รับบริการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจต่อการให้บริการของกองอาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการ ให้บริการของกองอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยจำแนก ตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการของกองอาคาร สถานที่และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และเป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้ วิธีการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรและนักศึกษาที่มาใช้บริการในด้านต่าง ๆ ของกองอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ประจำปีการศึกษา 2565 ได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (X ̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD.) และใช้ t-test ในการเปรียบเทียบและ One-way ANOVA ใช้ในการหาค่าความแตกต่าง โดยใช้สูตรแบบ LSD ในการตรวจสอบความแตกต่าง
ผลการศึกษา พบว่า ความพึงพอใจต่อการให้บริการของกองอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก เมื่อพิจารณาความพึง พอใจอยู่ในระดับมากทุกด้านจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาน้อยที่สุดจากทั้งหมด 3 ด้าน ดังนี้ ด้านงาน บริหารงานทั่วไป ด้านงานรักษาความปลอดภัย จราจร และยานพาหนะ ด้านงานสาธารณูปโภคและซ่อม บำรุง ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างการได้รับบริการของผู้ขอใช้บริการกับกองอาคารสถานที่และ สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ขอใช้ บริการ เช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งสถานะ และรายได้ต่างกันมีความคิดเห็นต่อความพึงพอใจ การให้บริการของกองอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ไม่แตกต่างกัน แต่ผู้ขอใช้บริการที่มีความถี่ในการ ติดต่อขอใช้บริการเดือนละครั้งมีความคิดเห็นต่อความพึงพอใจการให้บริการของกองอาคารสถานที่และ สิ่งแวดล้อมแตกต่างไปจากความถี่ในการติดต่อขอใช้บริการนาน ๆ ครั้ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ข้อเสนอแนะในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ พบว่า ผู้บริหารควรมีนโยบายปรับปรุงและพัฒนาในด้าน ปัญหาความล่าช้าในงานสาธารณูปโภคและซ่อมบำรุง เนื่องจากผู้ใช้บริการมีความคาดหวังที่จะได้รับ บริการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ความล่าช้าในการให้บริการสามารถทำให้ผู้ใช้บริการรู้สึกไม่พึงพอใจ และมีผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กร ความเสียหายต่อส่วนราชการ แนวทางแก้ไขควรมีการวางแผนและ การจัดทำโปรแกรมการบำรุงรักษา สร้างแผนการบำรุงรักษาที่เป็นระยะยาวและระยะสั้น วางท่าทางการ จัดทำโปรแกรมตรวจสอบและบำรุงรักษาเป็นประจำ นำเทคโนโลยีมาช่วยในการตรวจสอบและรักษา ปัญหา การใช้ระบบการแจ้งเตือนแบบอัตโนมัติสามารถช่วยลดเวลาล่าช้า การดำเนินการเหล่านี้สามารถ ช่วยลดปัญหาความล่าช้าในงานสาธารณูปโภคและซ่อมบำรุง นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการ ให้บริการและสร้างความพึงพอใจต่อผู้ใช้บริการ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กิตติศักดิ์ ขจรอําไพสุข. (2552). สภาพและปัญหาการจัดการอาคารสถานที่ในสถานศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิต.

ณัฐวุฒิ อินทรักษ์. (2560). การศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการอาคารเรียนรวมและปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. การค้นคว้าอิสระ. นครนายก: สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ธณภร จินตพละ. (2554). การศึกษาคุณภาพการให้บริการของสำนักงานบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

น้ำลิน เทียมแก้ว. (2561). การศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2560. การค้นคว้าอิสระ. มหาสารคาม : สำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั่งที่ 9. กรุงเทพฯ. สุวีริยาสาส์น.

ปียะนุช สุจิต. (2553). ความพึงพอใจในการใช้บริการศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

ประเสริฐ ชุ่มอภัย. (2564). ความพึงพอใจและความคาดหวังของบุคลากรต่อการให้บริการงาน จราจรและรักษาความปลอดภัย และงานบริการทั่วไป กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารสาระคาม, 12(1): 101-116.

ฝ่ายอาคารสถานที่วิทยาลัยทองสุข ศูนย์การศึกษาจังหวัดพิษณุโลก. (2555). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการอาคาร สถานที่วิทยาลัยทองสุข ศูนย์การศึกษาจังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก : วิทยาลัยทองสุข.

พณกฤษ บุญพบ. (2558). รูปแบบการวางแผ่นอาคารสถานที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(2): 2385-2398.

ภรภัค แช่มช้อย. (2557). คุณภาพการให้บริการของกองอาคารสถานที่ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

รุจิเรข กันทะใจ. (2562). การบริหารงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนบ้านเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่. วารสาร มมร วิชาการล้านนา, 7(1): 30-38.

วัฒนพงษ์ รัตนะวิศ. (2560). งานพัฒนาอาคารภูมิทัศน์ ระบบสาธารณูปโภค และสิ่งแวดล้อม. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต.

สุวารี มณีเนตร์ และเฉลิมชัย เอื้อวิรยะวิทย์. (2553). ความคาดหวังและความพึงพอใจของบุคลากรในการใช้บริการอาคารสถานที่ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. (การประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้ง ที่ 9).

สมนึก ภัททิยธนี. (2553). การวัดผลการศึกษา. มหาสารคาม ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.ไสว ชัยบุญเรือง. (2555). คุณภาพการให้บริการ ผู้ใช้บริการไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2555). รายงานผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจการให้บริการด้านอุปกรณ์การศึกษาและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อเนก สุวรรณบัณฑิต และภาสกร อดุลพัฒนกิจ. (2550). Service Psychology จิตวิทยาบริการ. กรุงเทพฯ:อดุลพัฒนกิจ.

อาภากร ธาตุโลหะ สายสุณี ฤทธิรงค์ และอุฬาริน เฉยศิริ. (2553). การศึกษาความพึงพอใจต่อการให้บริการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคปลาย ปีการศึกษา 2552. การค้นคว้าอิสระ. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

I-Ming Wang and Chich-Jen Shieh. “The Relationship Between Service Quality and Customer Satisfaction: the Example of CJCU library,” Journal of Information & Optimization Sciences. 27(2006) : 193-209.

Getzels, J.W. & Cuba, E. G. (1954). Role, role conflict, and effectiveness: An empirical study.

Yamane, Taro. (1967). Statistics, An Introductory Analysis, 2nd Ed., New York: Harper and Row.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1990). Delivering quality service: Balancing customer perceptions and expectations. New York: The free press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-14