การพัฒนาผลการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ เรื่อง นาฏยศัพท์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
คำสำคัญ:
การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD, ผลการเรียนรู้ เรื่องนาฏยศัพท์, โรงเรียนวัดโป่งบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาผลการเรียนรู้ 2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ เรื่อง นาฏยศัพท์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประชากรประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 40 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดเนื้อหาสาระกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง นาฏยศัพท์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD 3) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ และ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความก้าวหน้า
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ เรื่อง นาฏยศัพท์ โดยใช้การจัด การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ มีคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 25.08 คิดเป็นร้อยละ 83.58
2) ความก้าวหน้าทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ เรื่อง นาฏยศัพท์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ โดยมีความก้าวหน้าทางการเรียนเท่ากับ 0.74 (<g> = 0.74)
3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ เรื่อง นาฏยศัพท์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่องนาฏยศัพท์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Downloads
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551).หลกัสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษรแห่งประเทศไทย.
ทิศนา แขมมณี. (2563). รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.พิมพ์ครั้งที่25.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น.พิมพ์ครั้งที่25.กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พิมพ์พรลภัส ลักษณะวิเชียร และ พิชญาภา ยวงสร้อย. (2562). การเผยแพร่นาฏศิลป์ไทยในยุคดิจิทัล. วารสารกลุ่มมนุษย์ศาสตร์-สังคมศาสตร์,2(2),67.
ภาณุรัชต์ บุญส่ง.(2560). การดำรงอยู่ของนาฏศิลป์ไทยในยุคประเทศไทย 4.0.วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 5(1), 107-115.
โรงเรียนวัดโป่ง. (2563). เอกสารงานวิชาการด้านคะแนนวัดผลโรงเรียนวัดโป่ง 2563. ชลบุรี: โรงเรียนวัดโป่ง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. สืบค้นจาก chrome-extension:// efaidnbmnnnibpcajpcgl lefindmkaj/https://www.bic.moe.go.th/images/stories/5Porobor._2542pdf.pdf
วิไลลักษณ์ ลบลาย และจุไรศิริ ชูรักษ์. (2567). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ : ซัมเป็งสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา. พัฒนศิลป์วิชาการ, 8(1), 112-113.
รุ้งนภา ชุมประเสริฐ และจุไรศิริ ชูรักษ์. (2565). การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ร่วมกับการใช้สื่อประสมที่มีต่อทักษะการปฏิบัติทางนาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. ครุศาสตร์สาร, 16(2), 204.
วัลย์ลดา สีงาม และคำรณ สุนทรานนท์. (2567). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชานาฏศิลป์ชุดรำวงมาตรฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ผสมผสานแนวคิดวงจรคุณภาพเดมมิ่ง. พัฒนศิลป์วิชาการ, 8(1), 100-101.
Aslan Berzener, Ü., & Deneme, S. (2021). The Effect of Cooperative Learning on EFL Learners' Success of Reading Comprehension: An Experimental Study Implementing Slavin's STAD Method. Turkish Online Journal of Educational Technology-TOJET, 20(4), 90
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง