การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระดนตรี เรื่องจังหวะ ตามแนวคิดการสอนของออร์ฟ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดโป่ง
คำสำคัญ:
แนวคิดการสอนของออร์ฟ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง จังหวะ, โรงเรียนวัดโป่งบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระดนตรี เรื่อง จังหวะ ตามแนวคิดการสอนของออร์ฟ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดโป่ง มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) เพื่อศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดโป่ง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) มีจำนวนนักเรียน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) เนื้อหาสาระกิจกรรมการเรียนรู้วิชาดนตรี เรื่องจังหวะ ตามแนวคิดการสอนของออร์ฟ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการเรียนรู้มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ร้อยละ 2) ค่าเฉลี่ย 3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 4) ความก้าวหน้า
สรุปผลการวิจัยดังนี้
1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระดนตรี เรื่องจังหวะ ตามแนวคิดการสอนของออร์ฟ หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 25.70 ( =25.70) คิดเป็น ร้อยละ 85.67
2) ความก้าวหน้าทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระดนตรี เรื่องจังหวะ ตามแนวคิดการสอนของออร์ฟ หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ โดยมีค่าความก้าวหน้าทางการเรียนเท่ากับ 0.80 (<g> = 0.80)
3) ความพึงพอใจทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระดนตรี เรื่องจังหวะ ตามแนวคิดการสอนของออร์ฟ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.33, S.D. = 0.67)
Downloads
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลกัสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษรแห่งประเทศไทย.
กานต์นนท์ จุลกาญจ์นนท์. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านโน้ตดนตรีสากล ตามแนวคิดการสอนของโคดาย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.
พิทิต แสนอินทร์.(2564).การพัฒนาชุดกิจกรรมดนตรี สำหรับนักศึกษารายวิชาการสอนดนตรีตามแนวทางของออร์ฟ วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.วารสารดนตรีบ้านสมเด็จฯ, 3(2), 39.
โรงเรียนวัดโป่ง. (2563). เอกสารงานวิชาการด้านคะแนนวัดผลโรงเรียนวัดโป่ง 2563. ชลบุรี :โรงเรียนวัดโป่ง.
วาสนา สาระจันทร์. (2561). การจัดการเรียนรู้วิชาดนตรี ตามแนวคิดของคาร์ลออร์ฟร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหา เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติทางดนตรีและทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิทยา ไล้ทอง. (2561). การคลอทํานองเพลงด้วยโดรนตามแนวคิดในการสอนดนตรีของออร์ฟ. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(4), 355.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). รายงานการศึกษาไทย พ.ศ.2565. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
อัมทิภา ศิลปพิบูลย์, นัทธี เชียงชะนา, และนิอร เตรัตนชัย. (2563). กลวิธีการสอนดนตรีในชั้นเรียนรวมระดับประถมศึกษา:มุมมองจากประสบการณ์ของครูสอนดนตรี. วารสารวิทยาลัยราชสุดา, 17(2), 18.
Warner, B. (1991). Orff. Schulwerk Application for the Classroom. NJ: A Person Education.
Kuder. (1993). การหาความเชื่อมั่นโดยใช้วิธีการของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (Kuder - Richardson Method). สืบค้นจาก http://www.wijai48.com/leriability/ richardson.htm
Likert, Rensis. (1932). "A Technique for the Measurement of Attitudes". Archives of Psychology, 140, 1-55.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง