ธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2

ผู้แต่ง

  • ณัฐภรณ์ รามจะตุ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • รัตนา กาญจนพันธุ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ธรรมาภิบาล, ผู้บริหารสถานศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับธรรมาภิบาลผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2 และ 2) เปรียบเทียบธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2 จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน ใน 6 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านหลักนิติธรรม 2) ด้านหลักคุณธรรม 3) ด้านหลักความโปร่งใส 4) ด้านหลักการมีส่วนร่วม 5) ด้านหลักความรับผิดชอบ 6) ด้านหลักความคุ้มค่า กลุ่มตัวอย่างใช้ในการวิจัย คือ ครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 285 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2 มี
ธรรมาภิบาลในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปหาค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักความคุ้มค่า ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักมีส่วนร่วม และด้านหลักความรับผิดชอบตามลำดับ
2. ครูที่มีเพศต่างกัน วุฒิการศึกษาต่างกัน ประสบการณ์การทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อ
ธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550) เอกสารประกอบการพัฒนาหลักสูตรพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาสถานศึกษา.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

ขันทอง ไทยทวี. (2562). การควบคุมกำกับตามธรรมาภิบาลกับสุขภาพองค์การของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์(การควบคุมกำกับการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

จิรวรรณ มีภูมิและเชาวนี แก้วมโน. (2564). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2. “การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 13: 1865”.

จิตต์พิชชา จริยา.(2564).การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 3. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (การบริหารการศึกษา).มหาวิทยาลัยพะเยา.

จรูญศักดิ์ โกยรัมย์และคณะ. (2565). การปฏิบัติหน้าที่ตามธรรมาภิบาลและความซื่อสัตย์สุจริตของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ทัศพร เกตุถนอมและคณะ (2565). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดแพร่.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์.

ธีระ รุญเจริญ. (2548). สู่ความเป็นผู้บริหารสถานศึกษาสถานศึกษามืออาชีพ.กรุงเทพ. ข้าวฟ่าง.

นิตยา จีนด้วง. (2558).การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3.วารสารเทคโนโลยีภาคใต้.

ปราโมทย์ แสนกล้า. (2562). ธรรมาภิบาลส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา. ดุษฎีนิพนธ์(รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

พงษ์กฤตย์ นามปพนอังกูรและคณะ. (2563). ธรรมาภิบาล:หัวใจของการควบคุมกำกับสถานศึกษาในศตวรรษ 21. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

พงษ์พิพัฒน์ นารินรักษ์. (2563). ปัจจัยการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์(การบริหารการศึกษา).มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วารุณี โพธิ์คำ. (2562). การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า. นครปฐม. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

วณัฐสนันท์. กมลบูรณ์.(2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมกำกับตามธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา กับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสพป.สุราษฎร์ธานี เขต 3 วิทยานิพนธ์ (วิชาการควบคุมกำกับการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ศุภณัฐ กุมภาว์. (2563). การพัฒนาแนวทางการควบคุมกำกับสถานศึกษาโดยยึดธรรมาภิบาลสำหรับสถานศึกษา สังกัดสพป.สุรินทร์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ (วิชาการควบคุมกำกับและพัฒนาการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุรัสวดี คุ้มสุพรรณ และณิรดา เวชญาลักษณ์.(2564). การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิษณุโลก เขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2556, หน้า 41) สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอํานาจการบริหารและการจัดการการศึกษา. กรุงเทพฯ. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2. (2565). การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน ปีงบประมาณ 2565. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561). พิมพ์ครั้งที่4. กรุงเทพฯ. พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

อภิชาติ จุลพันธ์ เอื้อมพร โตภาณุรักษ์กุล และกาญจนา บุญส่ง. (2562). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโรงเรียนสุจริตสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี.Veridian E-Journal, Silpakorn University, Humanities, Social Sciences and arts.

อำนาจ เผือกบริสุทธิ์. (2560). หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนบางเสาธง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2.นิพนธ์(การบริหารการศึกษา).มหาวิทยาลัยบูรพา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-05