การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักการศึกษา แบบมุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้(OBE)
คำสำคัญ:
การออกแบบ, กิจกรรมการเรียนรู้, การศึกษาแบบมุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้บทคัดย่อ
การศึกษาแบบมุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ (OBE) เป็นการศึกษาที่เน้นการออกแบบกระบวนการการจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงผู้เรียนทั้งด้านความรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีความยืดหยุ่นทั้งการจัดการเรียนรู้ การจัดตารางเวลาเรียน การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล หลักสำคัญของการจัดการศึกษาแบบมุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ คือ การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ และผู้เรียนทุกคนต้องประสบความสำเร็จ การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบมุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นเป้าหมาย วิธีการจัดการเรียนรู้ การประเมินสมรรถนะและคุณลักษณะด้วยวิธีการที่หลากหลายและต่อเนื่อง ซึ่งมีกระบวนการ 3 ขั้นตอน คือ การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ การออกแบบการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลแบบมุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ ผลการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบมุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ พบว่า ผู้สอนมีการวางแผนร่วมกันออกแบบผลลัพธ์การเรียนรู้ การจัดเวลาเรียนการจัดการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ที่ชัดเจนสอดคล้องกับเป้าหมายของหลักสูตร มีการจัดสรรทรัพยากรและทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้วิชาใดวิชาหนึ่ง ผู้เรียนมีเป้าหมายและเส้นทางสู่ความสำเร็จในการเรียนที่ชัดเจน ผู้เรียนได้รับโอกาสที่ประสบความสำเร็จโดยใช้แนวทางที่ทันสมัย และมีโอกาสสร้างความรู้และทักษะที่ใช้ได้จริงโดยใช้แนวทางที่เหมาะสมกับตนเอง บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิด ความสำคัญ กรอบการศึกษาแบบมุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ กระบวนการจัดทำหลักสูตรแบบมุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบมุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ การวัดและประเมินผลแบบมุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ กรณีตัวอย่างการจัดการเรียนรู้แบบมุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้สู่ห้องเรียน และความท้าทายของการจัดการเรียนรู้แบบมุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้
Downloads
References
ฐิติมา ญาณะวงษา และคณะ(2564). หลักสูตรที่เน้นผลลัพธ์: แนวทางใหม่สำหรับหลักสูตรอุดมศึกษา.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 15 (2), 279-291.
บัณฑิต ทิพากร. (2562, 10 ตุลาคม). My 2 Satangs: การศึกษาเชิงผลลัพธ์ (Outcome Based Education). สืบค้นจาก https://www.c4ed.kmutt.ac.th/copy-of-my2satangstqf.
สุเมธ แย้มนุ่น. (2562, 30 ตุลาคม). บทบาทของสำนักงานตรวจประเมินภายใต้แผนอุดมศึกษา 20 ปี(2560-2579). สืบค้นจาก http://www.bme.mua.go.th.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2561, 21 พฤศจิกายน). องค์ความรู้ ภาษา-วัฒนธรรม. เดลินิวส์, 25.
สกล ธีระวรัญญู และปกรณ์ สุปินานนท์. (2562,11 สิงหาคม). วิชาการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้หรือ Outcome based education. สืบค้น จาก https://is.gd/UfIl2f.
เรณุมาศ มาอุ่น. (2559). การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ. Journal of Southen Technology, 2 (1), 169-176.
พิเชษฐ์ พินิจ.(2560).การออกแบบรายวิชาเชิงศิลป์และศาสตร์การสอน และการนำไปปฏิบัติให้เกิดผลของการประเมินแบบอิงผลลัพธ์การเรียนรู้ : ความพยายามเบื้องต้นในรายวิชาเครื่องจักรกลและการออกแบบ ระดับปริญญาตรี. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., 40 (4), 543-565.
Abbhilash, M. (2018, May 3). Things You Need To Know About Outcome-Based Education In India. 4 Things You Need To Know About Outcome-Based Education In India. Retrieved from Https://Www.Myklassroom.Com/.Https://Www.Myklassroom.Com/Blog/4-Things-To-Know-About-Outcome-Based-Education/
Adedoyin, O. O. & Shangodoyin, D.K. (2010). Concept and Practices of OBE for Effective Educational System in Botswana. European Journal of Social Science, 13(2), 161-170.
Alkuwaiti, A. (2021, January 23). Outcome-based assessment of student learning and performance.Retrieved From https://www.linkedin.com/pulse/ outcome-based-assessment-student-learning-performance-dr-ahmed.
Akramy, S. A. (2021). Implementation of outcome-based education (OBE) in Afghan
universities: lecturers’ voices. International Journal of Quality in Education Online, 5(2), 45.
Iloanya, J. (2019). Preparing the 21st Century Teacher for the Implementation of Outcomes-Based Education: The Practical Reality. American Journal of Educational Research 7 (7), 439-444.
Li, Cuiming and Fei, Jiang.(2020). An Experimental Study of Teaching English Writing with OBE in Chinese Senior High School. Theory and Practice in Language Studies, 10, (8), 905-915.DOI: http://dx.doi.org/10.17507/tpls.1008.08.
Loreto, M.M. (2018). Outcomes Based Teaching and Learning Practices in the Hotel and
Resort Management Program of Dusit Thani College. Dusit Thani College Journal, 12 (Special): 82-98.
Macayan, J. V. (2017). Implementing Outcome-Based Education (OBE) Framework: Implications For Assessment of Students’ Performance. Educational Measurement and EvaluationReview, 8 (1), 1-10.
Noor, M.M., Kadirgama, K., Rahman, M.M., Rejab, M.R.M., Bakar, R.A., & Ibrahim, A. (2009). Education reform model at Faculty of Mechanical Engineering, University Malaysia Pahang. International Journal of Recent Trend in Engineering, 1(5), 166-171.
Reynolds,H.L., & Kearns, K.D.(2017). A planning tool for incorporating backward design, active learning and authentic assessment in the College Classroom. College Teaching, 65, 17-25.
Saha, G.C., Akber, S.M.,Roy.A. (2023). Impact of Outcome-based Education (OBE) on Learners’s Performance in Business Course. Journal of Progress. Bus. Review. Miami (8) 8, -19.
Shaikh,U.A. (2023, September 19). Outcome Based Education (OBE): A Comprehensive Guide. Education ERP. Retrieved From https://qualcampus.com/outcome-based- education/OBE
Shamsudeen. M. T. (2023). Designing an effective OBE Curriculum: A guide to conceptual framework and implementation strategy. Journal of Emerging Technologies and Innovative Research (JETIR).10 (4), 508-512.
Wani, U. I. (2020). Outcome Based Education (OBE): A Transition from Traditional Education System. Insight: Journal 0f Applied research in Education, (25) 1, 1-6.
Yusof R., Othman N., Norwani N.M., Ahmad N.L.B. & Jalil N.B.A. (2017). Implementation of outcome- based education (OBE) in accounting programme in higher education. Academic Research Business Social Science, 7 (6), 1186–1200.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง