การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนไตรรัตนาภิรักษ์ โดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหาด้วยวิธีของโพลยาร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ STAD

ผู้แต่ง

  • นราธิป อิสรานุสรณ์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • ตะวัน พันพิบูลย์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • ศรีอาภา เปรมฤทัย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนไตรรัตนาภิรักษ์

คำสำคัญ:

เลขทศนิยม , วิธีของโพลยา , การจัดการเรียนรู้แบบ STAD , การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์เรื่องเลขทศนิยม หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหาด้วยวิธีของโพลยาร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ STAD กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนไตรรัตนาภิรักษ์ กรุงเทพมหานคร ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 22 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม มีเหตุผลสำคัญ หลายประการที่สนับสนุนในการเลือกนักเรียนห้องนี้เป็นกลุ่มตัวอย่าง ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนห้องนี้ มีความตั้งใจเรียนในเวลาที่ครูสอน เป็นนักเรียนที่ช่างสังเกตและมีความกล้าแสดงออกในการถามครูสำหรับคำถามหรือโจทย์ปัญหาที่ยังไม่เข้าใจ และพร้อมที่จะช่วยกันอธิบายวิธีการหาคำตอบของคำถามหรือโจทย์ปัญหาแต่ละข้อให้เพื่อนในกลุ่มหรือในห้องเรียน โดยนักเรียนที่มีทักษะการคิดคำนวณในการแก้โจทย์ปัญหาจะเป็นตัวแทนในการอธิบายเพื่อนๆ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เลขทศนิยม โดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหาด้วยวิธีของโพลยาร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ STAD จำนวน 4 แผน และ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขทศนิยม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เลขทศนิยม โดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหาด้วยวิธีของโพลยาร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ STAD มีคะแนน คิดเป็นค่าเฉลี่ย เท่ากับ 30.09 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 8.57 คะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 75.23

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560). กรุงเทพฯ: ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ณัฏฐ์ชญา อินพูลวงษ์, ผลาดร สุวรรณโพธิ์, และวิมลรัตน์ จตุรานนท์. (2560). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เจตคติต่อคณิตศาสตร์และพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD. วารสารศึกษาศาสตร์, 28(3), 126-139.

ทิศนา แขมมณี. (2543). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นราธิป อิสรานุสรณ์ บุษบา ชัยสัตย์ วราพร เหลาคม พรหมรินทร์ เมืองเดช และ ปิยณัฐ ขดเขียว.(2565). ปัญหาการเรียนและวิธีการสอนที่เหมาะสม เรื่อง จำนวนตรรกยะ ตามทัศนะของ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ จันทรเกษม. ครุศาสตร์สาร, 16(1), 174-187.

นันท์ณัฐ ค้อชากุล ชาติชาย ม่วงปฐม และ เอกราช ดีนาง. (2563). ผลการเรียนแบบร่วมมือแบบ STAD เสริมด้วยกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถใน การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 9(1), 89-109.

เนตรดาว ปทุมพร และ นวพล นนทภา. (2563). การศึกษาความเชื่อของครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อเจตคติทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 14(3), 151-158.

ปานพระจันทร์ จันทร์พรหม และ เสรี คำอั่น. (2565). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของ โพลยา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 8(1), 327-343.

ภานุวัฒน์ สุวรรณมาโจ สมภพ แซ่ลี้ และ พงศ์รัศมิ์ เฟื่องฟู. (2565). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เทคนิค TAI โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี. ครุศาสตร์สาร, 16(1), 117-126.

สุจิตรา แทนมืด และ สมภพ แซ่ลี้. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจำนวนจริง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ครุศาสตร์สาร, 15(1), 87-96.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-05