การพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลบางละมุง โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ร่วมกับการใช้สถานการณ์จําลองและสื่อมัลติมีเดีย

ผู้แต่ง

  • นิศราภรณ์ ชาติโสม โรงเรียนอนุบาลบางละมุง จังหวัดชลบุรี
  • พจนีย์ มั่งคั่ง วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
  • พลธาวิน วัชรทรธำรงค์ โรงเรียนอนุบาลบางละมุง จังหวัดชลบุรี

คำสำคัญ:

ทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ, สถานการณ์จําลอง, สื่อมัลติมีเดีย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ร่วมกับการใช้สถานการณ์จําลองและสื่อมัลติมีเดีย และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ร่วมกับการใช้สถานการณ์จําลองและสื่อมัลติมีเดีย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 32 คน ซึ่งศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ได้มาโดยการสุ่มแบบง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1. แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 6 แผน 2. แบบประเมินทักษะการฟัง 3. แบบประเมินทักษะการพูด และ 4. แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%), ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}), ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.), และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้
1) ทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการใช้สถานการณ์จําลองและสื่อมัลติมีเดีย พบว่า หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
2) ทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการใช้สถานการณ์จําลองและสื่อมัลติมีเดีย พบว่า หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมกับการใช้สถานการณ์จําลองและสื่อมัลติมีเดีย อยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

References

ธันยนันท์ โพธิ์ศรีดำรง และไชยวัฒน์ ชุ่มนาเสียว. (2566). การพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จำลองร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย. วารสารวิชาการและวิจัย, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 13 (4): 71-80.

นภัทร ไชยบุดดี. (2562). การส่งเสริมความสามารถการทำงานเป็นทีมด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเว็บสนับสนุนรายวิชาการเขียนโปรแกรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นิศราภรณ์ ชาติโสม ทัศนี วรรณทองและพลธาวิน วัชรทรธำรงค์, (2566). การพัฒนาทักษะการฟังและพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกแบบผสมผสาน. วารสารครุศาสตร์สาร,17 (2): 117-129.

ปิยะพร เอื้ออนันต์. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีการสอนแบบโฟนิกส์ร่วมกับการใช้สื่อประสมการเสริมแรงและเพื่อนช่วยเพื่อน. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ปรีชา ศรีเรืองฤทธิ์, นิคม โยกัญญา, และ อัญชนา ศรีเรืองฤทธิ์. (2562). แนวทางการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษในบริบทของประเทศไทย The Guidelines for Developing English Skills in Thailand Settings. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

พุฒินาท ปัตถานัง. (2560). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบสะกดคำประกอบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

ฤทัยรัตน์ ศรีพวงมาลัย, (2561) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการจัดการเรียนรู้ผ่านพอดคาสต์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหนองกุงศาลาน้ำเที่ยงวิทยากร. ค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วาทิตย์ สมุทรศรี, คชากฤษ เหลี่ยมไธสงและ สถิติพงษ์ เอื้ออารีมิตร. (2561). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 Multimedia Simulation for child Emotional Intelligent Development in Prathomsuksa 6 Students. วารสารชุมชนวิจัย. 12( 2): 233.

วาสนา สิงห์ทองลา. (2555). การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสาร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.35 (3): 56-64.

วิเชษฐ์ เสือภูมี. (2563). การพัฒนาความสามารถทักษะการฟัง–พูดภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสหกรณ์นิคมเกลือ Development of English Listening-Speaking Skills through Natural Approach for Prathomsuksa 2 Students Sahakornnikomklua School. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 5(2): 51-62.

สถาบันภาษาอังกฤษ, สํานักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). คู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล ระดับชั้นมัธยมศึกษา.

สมจิตต์ สินธุชัย และ กันยารัตน์ อุบลวรรณ. (2560). การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง : การนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(1).

Jordan, M. (2007). What a podcast is - and everything you need to know about podcasting. Retrieved from http://www.americanchronicle.com/articles/viewArticle.asp?articleID.

University of Westminster (2008). Cognitive Styles. Retrieved from https://www2.wmin.ac.uk/eic/learning-skills/cognition/learning_styles/ kolb_model.html. (2016, April 15).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-05