การปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านการบริหารงานวิชาการ : กรณีศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
การปฏิบัติที่เป็นเลิศ, การบริหารงานวิชาการ, ศูนย์การศึกษาพิเศษบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดและองค์ประกอบการปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านการบริหารงานวิชาการของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์และ 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านการบริหารงานวิชาการที่มีคุณภาพของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพกรณีศึกษา (Case Study) กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 43 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มบริหารงานวิชาการ ครูผู้สอน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ร่วมกับแบบสังเกต โดยผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบความสมบูรณ์ของการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้รับ ด้วยวิธีการตรวจสอบสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า
1) แนวคิดและองค์ประกอบการปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านการบริหารงานวิชาการของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ มีทั้งหมด 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาด้านการวัดผลและประเมินผล ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา และด้านการพัฒนาและการใช้สื่อเทคโนโลยี นวัตกรรมเพื่อการศึกษา ซึ่งผู้วิจัยได้จากการสังเคราะห์เอกสารทางวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2) การปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านการบริหารงานวิชาการที่มีคุณภาพของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย 1) สถานศึกษามีการกำหนดจุดมุ่งหมายชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ครอบคลุมทุกประเภทความพิการ หลักสูตรมีความหลากหลาย ยืดหยุ่นคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 2) สถานศึกษามีการประเมินพัฒนาการโดยใช้แบบประเมินที่มีความหลากหลาย 3) รูปแบบของการนิเทศภายในที่มีประสิทธิภาพส่งผลให้มีผลการพัฒนาศักยภาพเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 4) กระบวนการควบคุมคุณภาพและการประเมินคุณภาพการศึกษา มีความชัดเจน เน้นพัฒนาจุดอ่อนและเสริมจุดแข็งอย่างมีคุณภาพ และ 5) สถานศึกษาสามารถเชื่อมโยงข้อมูลในการบริหารจัดการสถานศึกษา รวมถึงสามารถนำมาเป็นฐานข้อมูลในการเชื่อมโยงไปยังหน่วยงานอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Downloads
References
กฤษณพงษ์ ศรีทรัพย์. (2565). คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.)
ตรีสุธน ศรีศักดิ์บางเตย. (2562). แนวทางพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในโรงเรียนพระแท่นดงรังวิทยาคาร. (การค้นคว้าอิสระ. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.)
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ. (2563, 23 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 44 ง. หน้า 9.
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปงบประมาณ พ.ศ.2566. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัย เชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 29(2), 31-48.
ปาจรีย์ หงส์แก้ว. (2563). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. (วิทยานิพนธ์. สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.)
มยุรี วรวรรณ (2563). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยม วัดหนองแขม. (การค้นคว้าอิสระ. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.)
วราเสฏฐ์ เกษีสังข์. (2559). การบริหารจัดการการวัดและประเมินผลการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21. (วิทยานิพนธ์. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.)
อวัศยา แสงทอง. (2564). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนวัดจันทราวาส (ศุขประสารราษฎร์). (การค้นคว้าอิสระ.สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.)
Chaiyadith, J., Kesornpat, P., Ployduangrat J. and Sesan. (2017). A Development of School Resources Management Model for the Private Vocational College Using Lean Thinking Concept. Journal of MCU Peace Studies, 5(1), 198-210.
Ussavanuphap, A., Kesonpad, P., Boontima, R. and Wattananarong. A. (2017). The Multilevel Factors Affecting the Educational Effectiveness of Education Institutes under Vocational Education Commission in the Bangkok Metropolitan Area. Journal of MCU Peace Studies.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง