ผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับนวัตกรรมเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง เรื่อง แหล่งอารยธรรมโบราณในภูมิภาคเอเชีย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมวัดด่านสำโรง

ผู้แต่ง

  • ณัฐวุติ จันสุนา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ลัลนา วงษ์ประเสริฐ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • กรรณิการ์ ภิรมย์รัตน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วีรพจน์ รัตนวาร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • นัทธิ์ธีร์ โสธรจรัสโชติ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนมัธยมวัดด่านสำโรง

คำสำคัญ:

ห้องเรียนกลับด้าน, นวัตกรรมเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง, แหล่งอารยธรรมโบราณในภูมิภาคเอเชีย, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

รายงานวิจัยในชั้นเรียนนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพนวัตกรรมเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง เรื่อง แหล่งอารยธรรมโบราณในภูมิภาคเอเชีย และ2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เรื่อง แหล่งอารยธรรมโบราณในภูมิภาคเอเชีย ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/8 โรงเรียนมัธยมวัดด่านสำโรง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 38 คน คัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างการวิจัยโดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากใช้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เป็นเกณฑ์ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง แหล่งอารยธรรมโบราณในภูมิภาคเอเชีย 2) นวัตกรรมเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง เรื่อง แหล่งอารยธรรมโบราณในภูมิภาคเอเชีย และ3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และชนิดถูก-ผิด 10 ข้อ รวมทั้งสิ้น 30 ข้อ โดยวิธีการให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยสถิติทดสอบ t-test

ผลการวิจัยพบว่า
1) นวัตกรรมเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง เรื่อง แหล่งอารยธรรมโบราณในภูมิภาคเอเชียมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.68/82.28 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับนวัตกรรมเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง แหล่งอารยธรรมโบราณในภูมิภาคเอเชียหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). CURRICULUM ISSUES 2010 เอกสารเพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กฤตยาภรณ์ วงศ์เพิ่ม (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือโดยใช้ชุดฝึกทักษะกระบวนการทางภูมิศาสตร์ร่วมกับเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง เรื่อง เอเชีย ออสเตรเลียและโอเชียเนีย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 4(10),53-65.

ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2560). ห้องเรียนกลับด้าน : ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2),171-182.

ณัฏฐพงศ์ กาญจนฉายา และคณิตตา นิจจรัลกุล. (2562). การพัฒนาทักษะการผลิตสื่อการเรียน การสอนของนักศึกษาครูผ่านหนังสือผสานความจริงเสมือน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 30(3),148-159.

ทิศนา แขมมณี.(2561). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 22). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นัชธินี ผลเนตร, ทวีวุฒิ สุริบุตร และเพียงฤทัย พุฒิคุณเกษม. (2565, 18 มีนาคม). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีวิทยา 2 ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) ร่วมกับเกมมิฟิเคชัน [เอกสารนำเสนอ]. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ การนําเสนอผลงานวิจัยของนักศึกษา สาขาการศึกษา ระดับปริญญาตรี ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์. (2551). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ.

พนิดา ตันศิริ. (2553). โลกเสมือนผสานโลกจริง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

มารุต พัฒผล. (2563). ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มการรู้คิด. กรุงเทพฯ : ศูนย์สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รักษ์พล ธนานุวงศ์. (2556). สื่อเสริมการเรียนรู้โลกเสมือนผสมโลกจริง (Augmented Reality) ชุดการจมและการลอยนิตยสาร. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

ลักขณา สุกใส. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระเศรษฐศาสตร์ เรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านวิชาเศรษฐศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(2),115-126

วิวัฒน์ มีสุวรรณ. (2554). การเรียนรู้ด้วยการสร้างโลกเสมือนผสานโลกจริง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 13(2),19-33.

ศราลี สมานเพ็ชร, วรางคณา ไฝชอบ และกรรณิการ์ ภิรมย์รัตน์. (2565, 18 มีนาคม). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ยุโรปของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับอินโฟกราฟิก [เอกสารนำเสนอ]. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติการนําเสนอผลงานวิจัยของนักศึกษาสาขาการศึกษา ระดับปริญญาตรี ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ศุภชัย ตันศิริ. (2555). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อาลาวีย๊ะ สะอะ. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดวิเคราะห์และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

อิรฟาน แมะอูมา และจารุวัจน์ สองเมือง. (2564). การพัฒนาชุดการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีโลกเสมือนจริงเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์บูรณาการอิสลามสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. วารสารอัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 11(22),333-345.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-05