การพัฒนาหลักสูตรศิลปะป้องกันตัวสำหรับการพัฒนาทักษะและความสามารถใน การป้องกันตัวขั้นพื้นฐานของผู้เรียนที่มีความสนใจในศิลปะการต่อสู้และป้องกันตัว

ผู้แต่ง

  • ภาณุ กุศลวงศ์ ภาควิชาพลศึกษา คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

หลักสูตรศิลปะป้องกันตัว, ขั้นพื้นฐาน, ศิลปะการต่อสู้, การป้องกันตัว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาหลักสูตรศิลปะป้องกันตัวสำหรับการพัฒนาทักษะและความสามารถในการป้องกันตัวขั้นพื้นฐานของผู้เรียนที่มีความสนใจในศิลปะการต่อสู้และป้องกันตัว โดยผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสาร งานวิจัย และทำการสัมภาษณ์เชิงลึก และสรุปเป็นร่างหลักสูตรศิลปะป้องกันตัวระยะสั้น และนำร่างหลักสูตรที่ได้จากการวิเคราะห์มาทำการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ค่าความสอดคล้องของความคิดเห็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 ท่าน ประกอบด้วย ด้านสุขศึกษาและพลศึกษา ด้านหลักสูตรและการสอน และด้านการวัดประเมินผล โดยมีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 เพื่อพิจารณาความถูกต้อง เหมาะสม และความเป็นไปได้ของการนำหลักสูตรศิลปะป้องกันตัวระยะสั้นไปใช้
ผลการวิจัย พบว่า หลักสูตรศิลปะป้องกันตัว ระยะสั้น ประกอบด้วย 1) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เพื่อพัฒนาทักษะและความสามารถในการป้องกันตัวขั้นพื้นฐาน 2) โครงสร้างของหลักสูตร ประกอบด้วย (2.1) การยืน (2.2) การเคลื่อนที่ (2.3) การชก (2.4) การศอก (2.5) การเข่า (2.6) การเตะ (2.7) การทุ่มและการนำคู่ต่อสู้ลงสู่พื้น และ (2.8) การจับล็อค 3) เวลาเรียน 4) แผนการจัดการเรียนรู้ หลักสูตรมุ่งพัฒนาทักษะและความจำเป็นขั้นพื้นฐานของการป้องกันตัวโดยเฉพาะในส่วนของการมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและการปฏิบัติตัวทางด้านของการประกอบท่าต่าง ๆ ตามลำดับขั้นโดยมีเทคนิควิธี การบริหารจัดการ การแก้ปัญหาเฉพาะด้าน และการคาดการณ์ในสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่สำคัญคือการพัฒนาผู้ที่สนใจและผู้เรียนให้มีศักยภาพและมีความรู้มีความสมบูรณ์ครอบคลุมวัตถุประสงค์ของหลักสูตรซึ่งจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และการป้องกันตัวได้อย่างเกิดประสิทธิผลสูงสุด

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2564). https://www.egov.go.th/th. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2567.

เจษฎา เจียระนัย และคณะ. (2557). ทักษะชีวิตในการพัฒนาสุขภาพ (Life skills for health development ). กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมวิชการ, 2557 พิมพ์ครั้งที่ 1. 192 p.

อังคณา แตงไทย, นิรอมลี มะกาเจ, ต่อศักดิ์ แก้วจรัสวิไล และราตรี เรืองไทย. (2563). ผลของการออกกำลังกายท่าชุดมวยไทยด้วยการชกลม กระสอบทรายและเป้าล่อ ที่มีผลต่อการตอบสนอง ของระบบหัวใจและหายใจในเพศหญิง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 9(2).

อานันท์ รุ่งเรือง. (2556). ผลของการฝึกออกกำลังกายด้วยการรำมวยไทยที่มีต่อสุขสมรรถนะและการทรงตัวของผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ. 15(3)

Boutcher, S. H. (2010). High-intensity intermittent exercise and fat loss. Journal of obesity. 20(11).

Finlay, M. J., Greig, M., McCarthy, J., & Page, R. M. (2020). Physical Response to Pad- and Bag-Based Boxing-Specific Training Modalities. The Journal of Strength & Conditioning Research, 34(4).

International Olympic Committee. (2020).Olympic Sports. Retrieved from https://olympics.com/tokyo-2020/en/sports/. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2567.

Kingkaew. (2012). ศิลปะการป้องกันตัว( Martial Arts )(ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://55011225003.blogspot.com/2012/07/blog-post.html . สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2567.

MerlIwBot. (2013). ศิลปะการป้องกันตัว(ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8 . สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2567.

Thaimmaclub. (2013) . ประวัติศิลปะการต่อสู้ (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://thaimmaclub.com/category/history/ . สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2567.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-05