การพัฒนางานประจำของครูสู่งานวิจัย

ผู้แต่ง

  • พนัส จันทร์ศรีทอง สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก
  • ณัฐมน พันธุ์ชาตรี สาขาวิชาการจัดการศึกษาและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

งานประจำของครู, งานวิจัย, การพัฒนา

บทคัดย่อ

ครูเป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อการชี้นำ ดำเนินการ สร้างสรรค์ แก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษา ในทุกระดับการเรียนรู้ มีความสำคัญในการสร้างคนดี คนเก่ง ไปพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้มี ความเจริญก้าวหน้า บทบาทหน้าที่ของครู งานประจำของครูนั้นมีมากมายหลายด้าน บางงานอาจราบรื่น บางงานอาจเกิดปัญหา ซึ่งงานของครูทุกงานล้วนแล้วแต่จำเป็นต้องใช้ความตั้งใจทุ่มเทให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดี มีคุณภาพ หากแต่แนวทางการพัฒนาให้งานดีมีคุณภาพนั้นจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการเข้าใจรายละเอียดและขั้นตอน วิธีการต่างๆ การใช้งานวิจัยเป็นเครื่องมือในการพัฒนา แก้ปัญหา แสวงหาองค์ความรู้ใหม่ หรือขยายองค์ความรู้เดิมที่มีให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นย่อมทำให้การทำงานประจำของครูมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อ การปฏิบัติงานที่สะดวก รวดเร็ว และมีมาตรฐาน “การพัฒนางานประจำของครูสู่งานวิจัย” เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตการทำงานของครูอาจเป็นปัญหาที่กำลังรอแนวทางการแก้ไข อาจเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียน การสอน อาจเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางในการส่งเสริมพัฒนา หากแต่การพัฒนางานประจำของครูที่มีอยู่มากมายไปสู่งานวิจัยนั้นขาดการสนับสนุนส่งเสริม ทั้งในแง่มุมของการให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการทำวิจัยซึ่งส่งผลไปสู่ผู้เรียน หน่วยงาน องค์กร สังคม และประเทศชาติต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

ณัฐมน พันธุ์ชาตรี. (2559). การสร้างเสริมคุณลักษณะความเป็นครูของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2550 ). ครูกับการใช้ประโยชน์งานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. การประชุมวิชาการ การวิจัยในชั้นเรียน ครั้งที่ 4 2550 30 – 31 ตุลาคม 2550ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ.

ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2563). ความเป็นครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.

พรรณอร อุชุภาพ. (2561). การศึกษาและวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัสราณัฏฐ โพธิอาสน์ และปนัฐษรณ์ จารุชัยนิวัฒน์. (2563). บทบาทครูอนุบาลในการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. Silpakorn Educational Research Journal, 12(2), 474-490.

วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ Action Research. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2(1), 29-49.

สมปอง พะมุลิลา. (2561). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ.http://www.nurse.ubu.ac.th/new/?q=node/740.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2540). รวมบทความทางการประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สหไทย ไชยพันธุ์. (2553). ครูกับแนวปฏิบัติในการทำวิจัย : วิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. วารสาร มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 2(3), 99-114.

สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ. (2565). R2R คืออะไร. ทำไมต้อง R2R. https://nich.anamai.moph.go.th/ web-pload/.pdf.

สุรีย์มาศ สุขกสิ และ พัชรินทร์ รุจิรานุกูล. (2563). การศึกษาความต้องการพัฒนาครูมืออาชีพสู่ความเป็นประเทศไทย 4.0. วารสารศรีปทุม ชลบุรี, 16(4), 21 – 27.

สุวิมล ว่องวานิช. (2548). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.

อภิสรรค์ ภาชนะวรรณ และเสริมทรัพย์ วรปัญญา. (2561). การพัฒนาครูด้านการวิจัยในชั้นเรียน. Journal of Suvarnabhumi Institute of Technology (Humanities and Social Sciences), 4(2), 394-410.

อุทัย รัตนปัญโญ และคณะ. (2562). การตระหนักรู้เท่าทันการเปลี่ยนสังคมเศรษฐกิจ และวิถีชีวิต จาก

กระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ในศตวรรษ ที่ 21. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 8(3).

อุบล เลี้ยววาริณ. (2556). ความเป็นครูวิชาชีพ “บทบาทหน้าที่และภาระงานครู”. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

อัจฉรา สระวาสี. (2557). การพัฒนารูปแบบการประเมินคุณภาพงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ของนิสิต

ปฏิบัติการสอนและฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.วารสารไทย, 8(2).

Best, J.W. & Kahn, J.V. (2006). Research in Education. 10th ed. Boston: Pearson Education.

Blaxter, L., Hughes, C., & Tight, M. (2010). How to research. McGraw-Hill Education (UK).

Kerlinger, F.N. & Lee, H.B. (2000). Foundations of Behavioral Research. 4th ed. New York:

Thomson Learning. Samlee Plianbangchang. (2017). A view on routine to research (R2R). Journal of Health Research, 31(6), 417-419.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-18