แนวทางการส่งเสริมทักษะการตัดสินใจผ่านการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ดิษลดา เพชรเกลี้ยง คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • รณกฤต เพชรเกลี้ยง คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, สังคมศึกษา, ทักษะการตัดสินใจ

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาในปัจจุบัน จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจนเกิดทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 ซึ่งทักษะการคิดถือเป็นทักษะที่ควรปลูกฝังในตัวผู้เรียน โดยเฉพาะทักษะการคิดตัดสินใจที่มีส่วนช่วยแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่ต้องเผชิญ จะเห็นได้ว่าในบริบทของการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา มีแนวทางการพัฒนาทักษะการตัดสินใจของผู้เรียนใน รูปแบบ คือ การตัดสินใจแบบเป็นขั้นตอนและการตัดสินใจโดยประยุกต์ใช้หลักการ ซึ่งแนวทางการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว ควรให้ความสำคัญทั้งในแง่ของสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน บทบาทครู รวมถึงกิจกรรมการเรียนการสอน ที่จำเป็นต้องอาศัยใบงานเป็นตัวกลางในการจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นทักษะการคิดประกอบการตัดสินใจ ให้ผู้เรียนเห็นถึงกระบวนการที่เป็นลำดับขั้นตอนอย่างชัดเจนจากการคิดผ่านการเขียน ซึ่งมีส่วนช่วยให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดตัดสินใจที่เป็นระบบมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้การฝึกทักษะการคิดประกอบการตัดสินใจในบริบทของห้องเรียนสังคมศึกษา ยังสามารถนำมาเป็นแนวทางในการปรับประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาจากสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

กุลชลี ไชยนันตา. (2539). กระบวนการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ประยูรวงศ์.

จิรภัทร์ ธิปัญญา และชัยรัตน์ โตศิลา. (2563). ผลการใช้กิจกรรรมแนะแนวตามกลวิธีเมตาคอกนิชันเพื่อเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถของตนเอง และทักษะการตัดสินใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

มัณฑรา ธรรมบุศย์. (2545). การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้โดยใช้ PBL (Problem-Based Learning).วารสารวิชาการ, 5(2), 11-17.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2560). หลักการวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis). สืบค้นจากhttps://www.stou.ac.th/Offices/rdec/headquater/uploadSWOT.pdf.

วิฑูรย์ ตันศิริคงคล. (2542). AHP: กระบวนการตัดสินใจที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก. กรุงเทพฯ : กราฟฟิค แอนด์ ปริ้นติ้ง เซ็นเตอร์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). รายงานการเสวนาทางวิชาการ มิติไหม่ของการประเมินผลการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2550 ). แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ: การจัด การเรียนรู้ แบบกระบวนการแก้ปัญหา. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สันติ บุญภิรมย์. (2557). การบริหารจัดการในห้องเรียน = Classroom Management. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

O’ Donohue, W., & Krasner, L. (1995). Problem Solving Skill. Handbook of Psychological Skills Training: Clinical Techniques and Applications. Boston : Allyn Bacon.

One31Thailand. (2565, 29 มกราคม). น้ำในแก้วไหนเยอะที่สุด. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/one31Thailand/photos/a.120621398095486/2280442895446648/?type=3&locale=th_TH

ThaiPBS. (2565, 1 กุมภาพันธ์). The trolley problem. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/ThaiPBS/photos/a.348532055084/10165232859175085/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-18