การสร้างเสริมทักษะดิจิทัลของนักเรียนอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

ผู้แต่ง

  • เสาวพา เวศกาวี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก
  • กฤษดา ผ่องพิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก
  • จิรวัฒน์ กิติพิเชษสรรค์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก

คำสำคัญ:

การสร้างเสริม, ทักษะ, ดิจิทัล, อาชีวศึกษา

บทคัดย่อ

สังคมปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เนื่องมาจากการใช้เทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ของโลกเข้าด้วยกัน และเทคโนโลยียุคดิจิทัลส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาตามไปด้วย สถานศึกษาจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่ 21 สถานศึกษาอาชีวศึกษาเป็นสถานศึกษาที่สร้างองค์ความรู้เรื่องการรู้ดิจิทัลของนักเรียน เพื่อเป็นการผลิตแรงงานในอนาคตให้สถานประกอบการในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ ด้วยการสร้างเสริมทักษะดิจิทัลของนักเรียนอาชีวศึกษาให้มีทักษะการรู้ดิจิทัลในด้าน การรู้ใช้ รู้เข้าใจ รู้สร้างสรรค์ และรู้เท่าทัน โดยให้มีทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลใน 9 ด้าน คือ 1) การใช้งานคอมพิวเตอร์ 2) การใช้งานอินเทอร์เน็ต 3) การใช้งานเพื่อความมั่นคงปลอดภัย 4) การใช้โปรแกรมประมวลผลคำ 5) การใช้โปรแกรมตารางคำนวณ 6) การใช้โปรแกรมนำเสนอ 7) การทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ 8) การใช้โปรแกรมสร้างดิจิทัล และ 9) การใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย เพื่อให้นักเรียนอาชีวศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษามีทักษะดิจิทัลตามกรอบระบบคุณวุฒิวิชาชีพของอาชีวศึกษา

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. https://www.mdes.go.th/about.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ.(2563). นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ศักดิ์ดนัย โรจน์สราญรมย์.(2562). กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางดิจิทัลของนักเรียน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ องค์การมหาชน. (2564). ตัวชี้วัดในการรับรองสมรรถนะกำลังคนตามมาตรฐานอาชีพ. กรุงเทพฯ:

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์กรมหาชน). สำนักงานคณะกรรมการการข้าราชการพลเรือน (2561). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2556– พ.ศ. 2561). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2564). การจัดการอาชีวศึกษาในสถานศึกษา. http://www.vec.go.th/th.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2561). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. http://www.trueploo .

Collins and Halverson. (2009). Rethinking education in the age of technology: The digital revolution and schooling in America. New York, NY: Teachers College Press.

Dankbaar, M. E., & de Jong, P. G. (2014). Technology for learning: how it has changed education. Perspectives on medical education, 3(4), 257-259.

Gilster. (1997). Digital literacy. New York: John Wiley & Son.doi.org/10.1016/0261-5177(95)00052-P

Mossberger,K.et.al.(2007). Digital Citizenship. London: The Mit Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-18