การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในจังหวัดลำปาง โดยใช้รูปแบบการสอนการอ่าน MIA

ผู้แต่ง

  • พงศ์ทวี ทัศวา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ธนาพันธุ์ ณ เชียงใหม่ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

รูปแบบการสอนอ่านแบบ MIA, ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ,, นักเรียน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในจังหวัดลำปาง หลังการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนอ่านแบบ MIA กับเกณฑ์ร้อยละ 60 โดยตั้งสมมติฐานในงานวิจัยว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาในจังหวัดลำปาง มีผลสัมฤทธิ์ทางด้านทักษะ การอ่านภาษาอังกฤษผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนอ่านแบบ MIA ซึ่งมี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาในจังหวัดลำปาง จำนวน 10 โรงเรียน จำนวน 155 คน ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนอ่าน MIA จำนวน 6 แผน 2) แบบทดสอบการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในจังหวัดลำปาง จำนวน 10 โรงเรียน มีคะแนนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ผู้วิจัยได้ตั้งไว้

Downloads

Download data is not yet available.

References

จุฑาภรณ์ ภารพบ. (2564). การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา. มหาสารคาม: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคศาสตร์.

นราธิป เอกสินธุ์. (2557). การพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ โดยใช้สาระการเรียนรู้ท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามแนวการสอนอ่านของเมอร์ด็อค (MIA). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ปิยวรรณ ลอดทอง. (2556). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา. สืบค้นจาก http://data.bopp-obec.info/emis/news/news_view_school.php?ID_New=1936&school_ID=1032650393.

พัทธรพี โสดาจันทร์และคณะ. (2555). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ CIPPA MODEL ผ่านกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ. มหาสารคาม: วารสารการบริหารและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิมพร พยุหะ. (2557). การใช้การอ่านแบบจิ๊กซอว์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่าน การเขียนสรุปความภาษาอังกฤษ และทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตรการสอน. กรงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์แห่งมหาวิทยาลัย.

รพีพร สร้อยน้ำ. (2563). ความต้องการของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในการเรียนภาษาอังกฤษ เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ สำหรับการประกอบอาชีพในประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยอุดรธานี).

รสา แก่นสูงเนิน. (2558). การพัฒนาการเรียนการสอน e Learning วิชาภาษาอังกฤษ เพื่อการท่องเที่ยวตามแนวการสอนการอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดธรรมจริยาภิรมย์ จังหวัดสมุทรสาคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ศราวุฒิ เวียงอินทร์และคณะ. (2560). การพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยเนื้อหาตามบริบทท้องถิ่น โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. มหาสารคาม: เอกสารการประชุมวิชาการระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สนอง อินละคร. (2544). เทคนิควิธีการและนวัตกรรมที่ใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง. (ม.ป.พ.)

สุจิตรา สารการ (2558). การเปรียบเทียบวิธีการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทระหว่างผู้สอนกับนักเรียน และวิธีการสอนอ่านแบบ MIA ในการพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสารคาม).

สุดารัตน์ ทองเภ้า. (2560). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษสำหรับผู้พูดภาษาอื่น มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี).

สุนีย์ สันหมุด. (2552). “ปัญหาด้านการอ่าน”. สืบค้นวันที่ 28 สิงหาคม 2554. จาก http://www.gotoknow.org/

สุพัตรา มูลละออง. (2558). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้การอ่านกลวิธีแบบร่วมมือและเทคนิคแผนผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสระยายโสมวิทยา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. นครปฐม: Veridian E-Journal, Silpakorn University.

อำภา วิฬุวัน. (2558). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยวิธีการสอนแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสารคาม).

อุชุพร บถพิบูลย์. (2550). ผลของวิธีการสอนแบบ MIA ที่มีต่อความสามารถในการสังเกตและพฤติกรรมในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล จังหวัดปัตตานี. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-18