การพัฒนาแอปพลิเคชันพอดคาสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมทักษะ การฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • รื่นฤดี อุ่นพิกุล หลักสูตรครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากล มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • วาปี คงอินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบผสมผสาน,, การฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ, แอปพลิเคชันพอดคาสต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันพอดคาสต์ร่วมกับ การเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมทักษะการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด (E1/E2 = 80/80) 2) เปรียบเทียบความสามารถทักษะการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนและหลังเรียนโดยใช้สื่อการสอนโดยแอปพลิเคชันพอดคาสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสาน และ 3) ศึกษาพัฒนาการสัมพัทธ์ความสามารถทักษะการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แอปพลิเคชันพอดคาสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียน อัสสัมชัญคอนแวนต์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่ม อย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกันและวิเคราะห์คะแนนพัฒนา การสัมพัทธ์ ผลการวิจัยพบว่า
1) ประสิทธิภาพแอปพลิเคชันพอดคาสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ มีประสิทธิภาพ 81.95/83.62 ตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด
2) ความสามารถการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โดยใช้แอปพลิเคชันพอดคาสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ทักษะการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 หลังเรียนมีค่าเท่ากับ ร้อยละ 64.21 อยู่ในระดับพัฒนาการระดับสูง

Downloads

Download data is not yet available.

References

เคน มหาชนะวงศ์.,นิธิดา อดิภัทรนันท์. (2562). การใช้แอปพลิเคชันบนแท็บเล็ต เพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟัง พูดภาษาอังกฤษและความรู้คำศัพท์ ของนักเรียนชาติพันธุ์ชั้นประถมศึกษาปีที่2. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 16(1), 205 -210.

จิรารัตน์ ประยูรวงษ์ (2019). การเรียนรู้ภาษาอังกฤษบนโลกดิจิทัลในศตวรรษที่ 21 Journal of Graduate Studies Valaya Alongkron Rajabhat University,13(1), 210-223.

ฤทัยรัตน์ ศรีพวงมาลัย.(2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการฟังภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการจัดการเรียนรู้ผ่านพอดคาสต์ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยศิลปากร]

วชิรญาณ์ บังคะดารา.(2562). ผลของการใช้พอดคาสท์แบบเคลื่อนที่ที่มีผลต่อการฟังเพื่อความเข้าใจของนักศึกษาไทยในระดับมหาวิทยาลัยที่เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ.[วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี]

วันเฉลิม ณ น่าน . (2563) VPL-PA Model หรือรูปแบบการเรียนการสอนฟังภาษาอังกฤษ 5 ขั้นตอน สืบค้นจาก : https://www.kruwandee.com/forum/10.html?wbid=70373

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ แหง จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

อรรถพล แสนโคตร (2564) การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษในบริบทการเรียนภาษาอังกฤษในฐานะเป็นภาษาต่างประเทศ โดยใช้พอดคาสท์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนวัดนวลนรดิศ. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2565. เข้าถึงได้จากhttps://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id

อรรชนิดา หวานคง.(2559). การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21. Journal of Yanasangvorn Research Institute, 7(2), 303-314.

Ahmadi, S. M. (2016). The Importance of Listening Comprehension in Language Learning. International Journal of Research in English Education, 1(1), 123-133.

Arikunto, S. (1986). Dasar-Dasar Evaluasi Pendidikan. Jakarta: Bumi Aksara. Best, J. W. (1997). Research in Education (3rd ed.). Englewood Cliffs N.J.: Prentice-Hall.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis (Vol. 6). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.

Hartati, N., & Yogi, H. P. S. (2019). Item Analysis for a Better Quality Test. English Language in Focus (ELIF), 2(1), 59–70.

Kline, R. B. (2005). Principles and practice of structural equation modeling (2nd ed.). New York, NY: Guilford Press.

Khairiah Syahabuddin.(2021). Teaching Listening Using Duolingo Application. Project Professional of English Education, 1(4),460-465.

Likert, R. (1967). "The Method of Constructing and Attitude Scale." Reading in Attitude Theory and Measurement, 90-95.

Muhammad Rizky Widodo 2018). Teaching Listening Using Duolingo Application. ProjectProfessional of English Education, 1(4),460-465.

Nachmais, C. F. & Nachmais, D. (2008). Research methods in the Social Sciences:Seventh Edition. New York, NY: Worth Publishers

Kline, R. B. (2005). Principles and practice of structural equation modeling (2nd ed.). New York, NY: Guilford Press.

Phra Yuranun Abivaddhano (Boonchit). (2017). A Study of Multimedia for Improving English Listening Skill of Students of Mahachulalongkornrajavidyalaya University. A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements of the Degree of Master of Arts English (International Program) Graduate School Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-18