ความพร้อม การรับรู้ความสามารถของตนเองก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ของนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
คำสำคัญ:
ความพร้อม, การรับรู้ของสามารถตนเอง, ทักษะบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสำรวจความพร้อม การรับรู้ของนักศึกษาก่อนออกฝึกงานประสบการณ์วิชาชีพด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอแนะความพร้อม การรับรู้ความสามารถของตนเอง โดยกลุ่มประชากรเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพฯ จำนวน 81 คน จากแบบสอบถาม ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลในค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานพร้อมกับคำถามปลายเปิดของปัญหา ข้อเสนอแนะ ผลการวิจัยพบว่าภาพรวมด้านความพร้อมและความรู้ มีค่าคะแนนเท่ากัน (µ =3.58, σ = 0.82) (µ =3.58, σ = 0.83) ส่วนด้านทักษะต่อการฝึกงาน (µ =3.49 σ = 0.80) มีค่าคะแนนระดับปานกลาง ด้านความพร้อมต่อการฝึกงานเป็นการสื่อสารได้เหมาะสมกับทุก ๆ วัย” (µ =3.22, σ = 0.80) ความรู้ เป็นด้านการรู้จักและเข้าใจ Incoterms” (µ =3.37 σ = 0.85) เป็นค่าระดับคะแนนปานกลาง และด้านทักษะต่อการฝึกงานในด้านการสื่อสารภาษาภาษาอื่น ๆ” ค่าระดับคะแนนปานกลาง (µ =2.61 σ = 1.27) ส่วนความคิดเห็นนักศึกษาสนใจต่อการเข้าฝึกงานในด้านคลังสินค้าและขนส่งสินค้าทางทะเล เนื่องความนิยมของการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ยังขยายตัวจากจำนวนมากของสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ ยังคงต้องการแรงงานในส่วนนี้เพิ่มขึ้น สำหรับด้านทักษะภาษาอังกฤษให้เน้นในด้านคำศัพท์ (Logistics terminology) เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยต่อการใช้คำศัพท์เบื้องต้นตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ถึงปี 3 ส่วนด้านการเลือกที่ฝึกงานให้มุ่งเน้นไปที่อาชีพอื่น ๆ ที่กว้างขึ้นในด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เพื่อมีโอกาสรับการคัดเลือกเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยหลักสูตรเน้นในอาชีพอื่น ๆ ที่เป็นทางเลือกแก่นักศึกษาในก้าวแรกจากการฝึกงาน
Downloads
References
กองยุทธศาสตร์ การพัฒนาระบบโลจิสติกส์. (2566). แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย พ.ศ. 2566 – 2570. ปีที่ 6 ฉบับวันที่ 1 ประจำเดือนมกราคม - เมษายน 2566.
กาญจนา สานุกูล กาญจนา จัตุพันธ์ และ ภัทรินทร์ หอมปลื้ม. (2560). ความพร้อมของนักศึกษาฝึกงานหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพสาธารณสุขศาสตร์ (เทคนิคเภสัชกรรม) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น. ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ครั้งที่ 8, 22 มิถุนายน 2560. หาดใหญ่ : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
เขมจิต เสนา . 2548. “ ลักษณะการฝึกงาน.” [ระบบออนไลน์]. สืบค้นจาก http://www/dekwtt.com/ book/rxpott/htm/221 (1 มกราคม 2556).
จันทิมา คำพล. (2559). การเตรียมความพร้อมของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ตามข้อตกลงร่วมกัน ด้านคุณสมบัติในสาขาวิชาชีพเพื่อรองรับ การเข้าสู่ประชาคม อาเซียน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการ จัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
จิรชพรรณ ชาญช่าง. (2020). การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง: การเรียนรู้สู่การปฏิบัติจริง. Journal of Education Studies: Vol. 48: Iss.3. DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.48.3.5.
ตนุยา เพชรสงและชลธิชา กาญจนพัน์ประภา. (2566). แนวทางการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของมหาวิทยาลัยในจังหวัดปทุมธานี. วารสารการบริหารนิตบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. ปีที่ 9 ฉบันที่ 8 เดือนสิงหาคม 2566.
ญาณิกา ลาประวัติ, พูลพงศ์ สุขสว่าง และกนก พานทอง. (2556). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการ รับรู้ความสามารถของตนเองและเมต้าคอกนิชันส่งผลต่อความคาดหวังในความสามารถของ ตนและผลของการกระทำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยาการวิจัยและวิทยาการ ปัญญา, 11(2), 75-85.
ดนุรี เงินศรี และณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2552). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุและผลของการรับรู้ ความสามารถของครูมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 4(1), 1231-1244.
ประภัสสร สมสถาน, จตุพล ยงศร, และจักรกฤษณ์ โปณะทอง. (2562). การศึกษาสภาพปัจจุบันและ สภาพ ความคาดหวังเกี่ยวกับคุณลักษณะจิตบริการของนักศึกษา มหาวิทยาลัยพายัพ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(6), 2424 – 2438.
พรชนก พงค์ทองเมือง, ธิดา ลาภวงศ์ และ วีรศักดิ์ โศจิพันธุ์. (2566). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้วยรูปแบบกรณีศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปกร. ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2566).
ยุคลธร เชตุพงษ์. (2548). ปัญหาและอุปสรรคในการรับนักศึกษาเข้าฝึกงานตามแนวความคิดของสถานประกอบการ : กรณีศึกษานักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตพณิชยการพระนคร. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 8(2).
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : ตถาตา พับลิเคชั่น.
ศิริวรรณ มุนินทรวงศ์. (2565). คุณลักษณะและทักษะที่สำคัญเพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกงานกรณีศึกษานักศึกษาฝึกงานสาขาวิชาภาษาญี่ปุน. วารสารเครือข[ายญี่ปุ่นศึกษา,JSN Journal, 12(2), 167-186.
สมใจ สืบวัฒนพงษกุล. (2559). การเตรียมความพร้อมเพื่อส่งนักเรียนเข้าแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ. มหาวิทยาลัยศิลปากร. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ฮิวจ์ เดลานี. (2562). การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 การพัฒนาทักษะคือหัวใจสำคัญของการศึกษา. สืบค้นจาก https://www.unicef.org/thailand/th/stories/การศึกษาสำหรับศตวรรษที่-21.
Bandura, A. (1997). Self-Efficacy: The Exercise of Control. New York: W.H. Freeman and Company.
Barrows, H. Foreword, in D. Evenson and C. Hmelo (eds.). (2000). Problem-based Learning: A Research Perspective on Learning Interaction.New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.
Chatterjee, P., Nagi, N., Agarwal, A., Das, B., Banerjee, S., Sarkar, S.,et al. (2020). The 2019 novel coronavirus disease (COVID-19) pandemic: A review of the current evidence. Indian Journal of Medical Research, 151, 147-159.
Dwyer, K.K. (1998). Using the 4 MAT system learning styles model to teach persuasive speaking in the basic speech course. Dissertation Abstracts International, 4, 14-18.
Herried, C.F. (1997). What is the case? Journal of College Science Teaching. 27: 92-94.
Sykes, G. & Bird, T. (1992). Teacher education and the case idea. Review of Research in Education, 18, 457-521.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง