แนวทางการประยุกต์ใช้สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยี ความเป็นจริงเสริมในการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านชั้นเรียน

ผู้แต่ง

  • ดิษลดา เพชรเกลี้ยง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • รณกฤต เพชรเกลี้ยง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • แฝงกมล เพชรเกลี้ยง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม, การจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านชั้นเรียน, สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง

บทคัดย่อ

การประยุกต์ใช้สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ในการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านชั้นเรียน เป็นการนาสื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการถ่ายทอดองค์ความรู้และประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งเป็นไปในลักษณะของการศึกษาบทเรียนด้วยตนเองผ่านสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ที่ผู้เรียนสามารถควบคุมเนื้อหาหรือเลือกเรียนรู้ได้ตามศักยภาพของตนเอง โดยไร้ข้อจากัดในเรื่องของสถานที่และเวลา อีกทั้งสามารถเข้าถึงบทเรียนและทบทวนเนื้อหาได้อย่างไม่จากัด นอกจากนี้ ผู้สอนยังสามารถติดตามการเรียนรู้ ตลอดจนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ทั้งการประเมินเพื่อพัฒนาและการประเมินผลรวบยอดได้ผ่านเทคโนโลยีสื่อข้างต้น เพื่อให้การเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติเกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสืบเสาะหาความรู้สู่ การอภิปรายร่วมกัน ฉะนั้นบทบาทครูจึงเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง คือไม่ใช่เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ แต่เปรียบเสมือนผู้จุดประกายทางความคิด คอยชี้แนะ สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จึงอาจกล่าวได้ว่า การนาสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมมาใช้ร่วมกับการเรียน การสอน ส่งผลทาให้เกิดการตอบสนองและเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ ที่ผู้เรียนสามารถทาความเข้าใจเนื้อหาของบทเรียนได้ง่ายขึ้น ผ่านการนาเสนอข้อมูลสารสนเทศที่แสดงผลออกมาได้ในหลากหลายรูปแบบ อีกทั้งมีกระบวนการสร้างหรือรูปแบบวิธีการใช้งานคล้ายเกมที่ผู้เรียนคุ้นเคยในชีวิตประจาวัน จึงเหมาะที่จะนามาประยุกต์ใช้ในลักษณะของสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือผสมผสานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านชั้นเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กิดานันท์ มลิทอง. (2536). เทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ภาควิชาโสตทัศนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จันทิมา ปัทมธรรมกุล. (2555). The flipped classroom กับการเรียนการสอนในประเทศไทย. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 28(2), 15-18.

ชัชชญา พีระธรณิศร. (2563). ความท้าทายการจัดการศึกษาในยุค Disruptive Change ของผู้บริหารสถานศึกษา. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 4(2), 126-139.

ณัฐญา นาคะสันต์, และ เรืองวานิช ศุภรางค์. (2559). Augmented Reality : เติมชีวิตให้สื่อสิ่งพิมพ์ทางการศึกษา. วารสารร่มพฤกษ์, 34(2), 33-50.

ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญญาพร เจียศิริพันธ์. (2560). การพัฒนาชุดการสอนแบบความเป็นจริงเสริมในการเรียนโดยใช้สถานการณ์จำลองด้วยการเรียนรู้จาก การจัดกระทำเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 45(1), 70-87.

วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2558). การพัฒนาสื่่อ Augmented Reality ด้วยโปรแกรม Processing และ OpenSpace3D. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ผู้สอนเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. นนทบุรี : บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโพรดักส์ จำกัด.

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. (2559). 30 Years of NECTEC = 30 เนคเทค 3 ทศวรรษ พัฒนาไทย งานวิจัย ใช้ได้จริง. ปทุมธานี : ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ.

Bergmann, J., and Sams. (2012). Flip Your Classroom: Reach Every Student in Every Class Every Day. Washington, DC: ISTE

Millard, E. (2012). 5 Reasons Flipped Classrooms Work. University Business, 26-29.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30

How to Cite

เพชรเกลี้ยง ด., เพชรเกลี้ยง ร., & เพชรเกลี้ยง แ. . (2024). แนวทางการประยุกต์ใช้สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยี ความเป็นจริงเสริมในการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านชั้นเรียน. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 18(2), 233–243. สืบค้น จาก https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/460