แบบทดสอบความรู้เนื้อหาผสานวิธีสอนและเทคโนโลยีและ ความรู้เรื่องแนวคิดทีแพ็คของนักศึกษาครู

ผู้แต่ง

  • นันท์นภัส นิยมทรัพย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

คำสำคัญ:

นักศึกษาครู, ทีแพ็ค, การอบรม, แบบทดสอบทีแพ็ค

บทคัดย่อ

การศึกษามีความจำเป็นในการส่งเสริมความรู้ด้านดิจิทัลให้กับนักเรียนทำให้แนวคิดทีแพ็คถูกนำมาใช้ในการบูรณาการเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพเข้ากับบทเรียนรวมกับความรู้ด้านการสอนและเนื้อหาซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในการผลิตครูและมีความจำเป็นต้องเตรียมพร้อมความรู้เกี่ยวกับแนวคิดนี้ให้แก่นักศึกษาก่อนออกฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในรูปแบบของการอบรม จึงมีความจำเป็นต้องสร้างแบบทดสอบในการวัดความรู้ก่อนอบรมและหลังการอบรมที่มีคุณภาพ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบทดสอบความรู้เนื้อหาผสานวิธีสอนและเทคโนโลยีสำหรับนักศึกษาครู และ 2) เปรียบเทียบความรู้เรื่องแนวคิดเนื้อหาผสานวิธีสอนและเทคโนโลยีของนักศึกษาครูก่อนกับหลังการอบรม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาครูหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ชั้นปีที่ 3 จำนวน 492 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที

            ผลการวิจัยพบว่า

            1) แบบทดสอบวัดความรู้เนื้อหาผสานวิธีสอนและเทคโนโลยีของนักศึกษาครูมีลักษณะเป็นสถานการณ์ที่ใช้แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องสารอาหารที่ออกแบบตามแนวคิดความรู้เนื้อหาผสานวิธีสอนและเทคโนโลยี และมีคำถามให้วิเคราะห์แนวคิด TPACK ที่แทรกในแผนดังกล่าวจำนวน 10 ข้อ การตอบเป็นแบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก มีความความเที่ยงตรงเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง .21-.78 ค่าอำนาจแนกอยู่ระหว่าง .31-.63 ผ่านเกณฑ์ทุกข้อ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.68 อยู่ในระดับปานกลาง

            2) ความรู้เนื้อหาผสานวิธีสอนและเทคโนโลยีของนักศึกษาครูหลังการอบรม (x̅ =7.38, SD = 2.16) สูงกว่าก่อนการอบรม x̅ = 4.25, SD = 2.00) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Downloads

Download data is not yet available.

References

นันท์นภัส นิยมทรัพย์, จินตนา ศิริธัญญารัตน์, บุญสม ทับสาย, กชพร รัตนศิริ, จินดาหรา โก้เครือ, ฐิติพันธุ์ บัวเจริญ, ธัญญารัตน์ นาทะชัย และนฤมล โก้เครือ. (2566). มุมมองของครูประจำการด้านการออกแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดความรู้เนื้อหา ผสานวิธีสอนและเทคโนโลยี. ครุศาสตร์สาร, 17(2), 203-217.

นันท์นภัส นิยมทรัพย์. (2567, กรกฎาคม 24). แผนTPACKสารอาหาร [Video file]. Video posted to https://youtu.be/eE04SYEM46c

ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง รายละเอียดของมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครูตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2563, พฤษภาคม 7). ราชกิจจานุเบกษา, 137 (109ง), 10-14.

ประกาศคุรุสภา เรื่อง การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษา ตามมาตรฐานวิชาชีพเพื่อการประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2567. (2567, กุมภาพันธ์ 6). ราชกิจจานุเบกษา, 141 (35ง), 15-19.

รัชนียา ถิรเดโชชัย และทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2566). การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางในการพัฒนารูปแบบการประเมินความสามารถด้านความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี (TPACK) สำหรับนักศึกษาครู. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 5(2), 85-99.

Adlini, M. N., Jayanti, U. N. A. D., Hardiansyah, D., & Tanjung, I. F. (2024). Developing a TPACK-Based Question Bank for Biology Education Comprehensive Exam. Jurnal Pembelajaran Dan BiologiI Nukleus, 10(1), 276-293.

Hall, J. A., Lei, J., & Wang, Q. (2020). The first principles of instruction: an examination of their impact on preservice teachers’ TPACK. Educational Technology Research & Development, 68(6), 3115–3142. https://doi.org/10.1007/s11423-020-09866-2

Korkmaz, S., & Bi̇ber, A. Ç. (2023). The Effect of Technology Assisted Argumentation Based Teaching on Technological Pedagogical Content Knowledge Self Assessments of Preservice Teachers. Kastamonu Education Journal, 31(1), 131–142. https://doi.org/10.24106/kefdergi.1246448

Pehlevan, İ., & Ünal, B. (2024). Digital Literacy and TPACK Levels of Pre-service EFL Teachers. International Journal of Field Education (IJOFE), 10(1), 1–17.

Permana, R. A. H. A. & Widodo, A. (2022). Validity and Inter-rater Reliability of the Scoring Rubrics for the Science Teacher TPACK Test Instrument. Jurnal Penelitian Dan Pembelajaran IPA, 8(1), 27–44. https://doi.org/10.30870/jppi.v8i1.11164

Severo Prodanov, T., & Serrano de Andrade Neto, A. (2023). Pre-service chemistry teachers’ technological pedagogical content knowledge (TPACK): findings from a teacher training program design. Investigações Em Ensino de Ciências, 28(2), 122–148. https://doi.org/10.22600/1518-8795.ienci2023v28n2p122

Yamane, Taro. (1973). Statistics an introductory analysis. New York Ha

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30

How to Cite

นิยมทรัพย์ น. . (2024). แบบทดสอบความรู้เนื้อหาผสานวิธีสอนและเทคโนโลยีและ ความรู้เรื่องแนวคิดทีแพ็คของนักศึกษาครู . วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 18(2), 187–197. สืบค้น จาก https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/479

Similar Articles

You may also start an advanced similarity search for this article.