การเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ความรู้ พฤติกรรมการป้องกันโรคและความเครียด ในช่วงการระบาดและหลังการระบาดของโรคโควิด 19 ของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในจังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • จักรพันธ์ ชัยทัศน์ คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยเชียงราย
  • วัชรี มนัสสนิท คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยเชียงราย
  • กนกวรรณ พุทธหน่อแก้ว คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยเชียงราย

คำสำคัญ:

การเปิดรับข้อมูลข่าวสาร, ความรู้, พฤติกรรมการป้องกันโรค, ความเครียด, การระบาดของโรคโควิด 19

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับ ความสัมพันธ์ และการเปรียบเทียบการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ความรู้ พฤติกรรมการป้องกันโรค และความเครียด ในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19 กับหลังการระบาดของโรคโควิด 19 โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในจังหวัดเชียงราย จำนวน 293 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ซึ่งผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้องจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (𝑥̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation) และค่าสถิติทดสอบทีสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1) ระดับการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ความรู้ พฤติกรรมการป้องกันโรค และความเครียด พบว่า ในช่วงการระบาดและหลังการระบาดของโรคโควิด 19 ระดับการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ระดับความรู้ และระดับพฤติกรรมการป้องกันโรคอยู่ในระดับมาก และระดับความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง
2) ความสัมพันธ์ของการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ความรู้ พฤติกรรมการป้องกันโรค และความเครียด พบว่า ในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19 การเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรค มีความสัมพันธ์กับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 และหลังการระบาดของโรคโควิด 19 การเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรค ไม่มีความสัมพันธ์กับความเครียด
3) การเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรค ในช่วงการระบาดและหลังการระบาดของโรคโควิด 19 มีผลต่อความเครียดของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในจังหวัดเชียงรายแตกต่างกันแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับประชาชน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กรมสุขภาพจิต. (2566). ข้อมูลการประเมินสุขภาพจิตคนไทย. สืบค้นจากhttps://checkin.dmh.go.th /dashboards

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565). สถิติอุดมศึกษา. สืบค้นจากhttps://info. mhesi.go.th/stat_std_all.php?search_year =2565

กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์, เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ, ลำพึง วอนอก, สุพัฒน์ อาสนะ, วรรณศรี แววงาม, กุลธิดา กิ่งสวัสดิ์ และภานุชนาถ อ่อนไกล. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดต่อการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 14(2), 138-148.

กัลยภัฏร์ ศรีไพโรจน์, จินตนา สรายุทธพิทักษ์ และสริญญา รอดพิพัฒน์. (2565). การเปิดรับสื่อ การรับรู้ ความรู้ และพฤติกรรมด้านการป้องกันในสถานการณ์การระบาดใหญ่ ทั่วโลกของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น: กรณีโควิด 19. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 14(3), 131-141.

ธานี กล่อมใจ, จรรยา แก้วใจบุญ และทักษิกา ชัชวรัตน์. (2563). ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 21(2), 29-39.

บุญชม ศรีสะอาด. (2558). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดตออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2565. (2565, 20 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เลม 139 ตอนพิเศษ 223 ง. หน้า 1.

ไมตรี ธนาวัฒนะ, อิทธิพล ดวงจินดา และวาสนา ธนาวัฒนะ. (2565). ผลกระทบจากวิกฤติโรคโควิด-19 ต่อความเครียดและการจัดการความเครียดของประชาชนกลุ่มวัยทำงาน อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 4(1), 23-37.

วาสินี ชลิศราพงศ์, สุทัศน์ โชตนะพันธ์, จริยา ดำรงศักดิ์, ธัชริทธิ์ ใจผูก, ภัสราภรณ์ นาสา, พัณณิตา ครุฑนาค, พรรณวรท ภูเวียง และแสนสุข เจริญกุล. (2567). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคในช่วงการระบาดเเละหลังการระบาดของโรคโควิด 19 ในบุคลากรกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันเวชศาสตร์ป้องกันศึกษา สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง และกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค.

สุกัญญา เอกปัญญาสกุล. (2563). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความวิตกกังวลจากการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับ COVID –19 ในประชากร เขตกรุงเทพมหานคร (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สาขาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อวาทิพย์ แว. (2563). COVID-19 กับการเรียนรู้สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในวันนี้. วารสารสมาคมวิชาชีพสุขศึกษา, 35(1), 24-29.

Belch, G.E., & Belch, M.A. (2012). Advertising and promotion: An Integrated marketing communications Perspective (9th ed.). New York: Mcgraw-Hill/Irwin.

Klapper, J.T. (1960). The Effects of Mass Communication. New York: Free Press.

Marketingoops. (ม.ป.ป.). เผยผลสำรวจสิ่งที่คนไทยกังวลมากสุดคือ โควิด-19’ เพราะเกี่ยวข้องโดยตรง และไม่มั่นใจการรับมือของรัฐ. สืบค้นจาก https://www.marketingoops.com/news/ consumer-sensing-covid19/

Qiu, J., Shen, B., Zhao, M., Wang, Z., Xie, B. and Xu, Y. (2020). A Nationwide Survey of Psychological Distress among Chinese People in the COVID-19 Epidemic: Implications and Policy Recommendations. General Psychiatry, 33(2), 1-3. doi:10.1136/gpsych-2020-100213.

Thompson, S. K. (2012). Sampling (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30

How to Cite

ชัยทัศน์ จ. ., มนัสสนิท ว. ., & พุทธหน่อแก้ว ก. . (2024). การเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ความรู้ พฤติกรรมการป้องกันโรคและความเครียด ในช่วงการระบาดและหลังการระบาดของโรคโควิด 19 ของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในจังหวัดเชียงราย. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 18(2), 164–175. สืบค้น จาก https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/489