พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

ผู้แต่ง

  • ลิรารัตน์ จันทะคูณ โรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี
  • กฤษดา ผ่องพิทยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์
  • เสาวพา เวศกาวี สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา วิทยาลัยสารพัดช่างนครหลวง

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม , ทักษะการอ่าน เขียน, พฤติกรรมการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเขียน และพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม และ 4) เพื่อประเมินการใช้รูปแบบการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม ประชากร เป็นผู้บริหารสถานศึกษา 2 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ครู 27 คน นักเรียน 20 คน และผู้ปกครอง 20 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบทดสอบทักษะการอ่านการเขียน และแบบบันทึกพฤติกรรมการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) สถานศึกษายังไม่มีรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม 2) รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน และพฤติกรรม การเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนศรีสังวาลย์ มีองค์ประกอบ คือ การกำหนดนโยบาย การสร้างความเข้าใจ การมีส่วนร่วม และการประเมินผล ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบโดยภาพรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อทักษะการอ่าน การเขียน และพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนศรีสังวาลย์ พบว่า นักเรียนได้คะแนนทักษะด้านการอ่านการเขียน คิดเป็นร้อยละ 84.00 พฤติกรรมในการเรียนรู้มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และ 4. ครูและผู้ปกครองมีความพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (รพ.).

กองการศึกษาพิเศษเพื่อคนพิการ. (2543). การจัดการศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ : กองการศึกษาพิเศษ กระทรวงศึกษาธิการ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น

ภัทราภรณ์ แดงแก้ว. (2557). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

มาเรียม นิลพันธ์. (2560). การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2556) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. มหาวิทยาลัยศิลปากร:นครปฐม.

มนต์ชัย พงศกรนฤวงษ์. (2552). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างความรู้ของนักเรียนช่างอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มณีรัตน์ บุญเต็ม และประชุม รอดประเสริฐ. ( 2557). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยองค์คณะบุคคล ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาภาคใต้ตอนล่าง.วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

วรันดา อันล้น. (2566). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เพื่อเน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลสำหรับนักศึกษาครู. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วันทนา เวชการ. (2555). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการติดต่อสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษากับการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2545). โรงเรียนองค์การแห่งการเรียนรู้ : แนวคิดทางการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ทิพย์วิสุทธิ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548). มาตรฐานการศึกษาของชาติ. กรุงเทพฯ : สหายบล็อกการพิมพ์.

อาจินต์ จรูญผล. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

Cohen, J.M. and N.T. Uphoff.(1980). Rural Development Participation : Concept and Measures for Project Design. Cornell University.

Ridcout, F.D. (1997). School-Based Management for Small Schools in Newfoundland and Labrador, Dissertation Abstracts International. 57(8): 3348-A.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30

How to Cite

จันทะคูณ ล., ผ่องพิทยา ก. ., & เวศกาวี เ. . (2024). พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 18(2), 176–186. สืบค้น จาก https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/497