รูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีของนักเรียน

ผู้แต่ง

  • เสาวพา เวศกาวี สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา วิทยาลัยสารพัดช่างนครหลวง
  • กฤษดา ผ่องพิทยา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์
  • ลิรารัตน์ จันทะคูณ โรงเรียนเทสบาลวัดดอนไก่ดี

คำสำคัญ:

Keyword: learning management , promote moderation, reasonableness

บทคัดย่อ

รูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีของนักเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพและความต้องการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริม ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีของนักเรียน 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู กลุ่มตัวอย่าง เป็น ผู้บริหารสถานศึกษา 2 คน ครูผู้สอน 27 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 15 คน ผู้ปกครองนักเรียน 20 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมินผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู แบบนิเทศครู และ แบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพและความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีของนักเรียน มีองค์ประกอบหลักและตัวบ่งชี้ความสำเร็จ ดังนี้ 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) ด้านการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีของนักเรียนใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
2. รูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีของนักเรียน ได้แก่ การฝึกปฏิบัติจริง การถอดบทเรียน การฝึกอบรมการประชุมเชิงปฏิบัติการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการศึกษาดูงาน
3. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีของนักเรียน พบว่า ทุกด้าน มีผลการดำเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และบรรลุผลสำเร็จอยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แนวทางการบริหารศูนย์สถานศึกษาแบบพอเพียง. กรุงเทพฯ : ศูนย์พอเพียง.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การศึกษาข้อมูลทิศทางและกรอบยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

คณะทำงานบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน. (2558). การเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อทดลองใช้สำหรับช่วงชั้นที่ 3 (ระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 1-3). กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. (2558). การสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ.

คณะรัฐมนตรี. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

สำนักงานขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. (2557). แนวคิดพื้นฐานการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ : ศูนย์สถานศึกษาพอเพียงมูลนิธิสถิรคุณ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2561). ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ : แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 - 2554). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษา : ระเบียบวาระแห่งชาติ (พ.ศ. 2551-2555) ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษา แห่งชาติ (พ.ศ. 2545-2559). กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิก.

Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria: Deakin University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30

How to Cite

เวศกาวี เ., ผ่องพิทยา ก. ., & จันทะคูณ ล. . (2024). รูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีของนักเรียน. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 18(2), 63–72. สืบค้น จาก https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/499