รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารในยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
รูปแบบ, ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม, ผู้บริหารในยุคดิจิทัล, สังกัดกรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็น 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารในยุคดิจิทัล และ 3) ประเมินผลรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารในยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร 202 คน ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินกรอบแนวคิด 5 คน ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินรูปแบบ 9 คน และผู้บริหารสถานศึกษานำรูปแบบการพัฒนาสู่การปฏิบัติ 15 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม แบบประเมินแนวทาง และคู่มือการพัฒนา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารในยุคดิจิทัล ประกอบด้วย 1.1) ผลการศึกษากรอบแนวคิด ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์เชิงนวัตกรรม การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมเชิงนวัตกรรม การมีทักษะการคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม การสร้างบรรยากาศแห่งองค์การนวัตกรรม และการแสดงบทบาทหน้าที่เชิงนวัตกรรม 1.2) ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารในยุคดิจิทัล พบว่า ความต้องการจำเป็นสูงสุด 3 ลำดับ ดังนี้ ด้านการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมเชิงนวัตกรรม ด้านการแสดงบทบาทหน้าที่เชิงนวัตกรรม และ ด้านการมีทักษะการคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม 2. ผลการศึกษารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารในยุคดิจิทัล พบว่า ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนา 5 องค์ประกอบ คือ วัตถุประสงค์การพัฒนา สาระการพัฒนา กระบวนการพัฒนา สื่อการพัฒนา และการวัดและการประเมินผลการพัฒนา 3. ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารในยุคดิจิทัล พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
References
กุลชลี จงเจริญ. (2561). เอกสารประกอบการสอน หน่วยที่ 12 ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ชุดวิชา 23728นวัตกรรมการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. อุบลราชธานี : ศิริธรรมออฟเซ็ท.
ธีระ รุญเจริญ. (2556). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา เพื่อปฏิรูปรอบสองและประเมินภายนอกรอบสาม. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
ไพฑูรย สินลารัตน. (2553). ผูนำเชิงสรางสรรคและผลิตภาพ: กระบวนทัศนใหมและผูนำใหมทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
มณีรัตน์ สุดเต้, หยกแก้ว กมลวรเดช และมานี แสงหิรัญ. (2563). “ภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2.” วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 7 (8). 344-362. วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกา
ยันต์, และ จรรยา คนใหญ่. (2563). “การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน.” วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 14 (34): 285-298.
สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษาและประเมินผล กรุงเทพมหานคร. (2557). แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2556 - 2575). สมุทรสาคร: พิมพ์ดี.
สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษาและประเมินผล กรุงเทพมหานคร. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2564 - 2566) ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร: วันไฟน์เดย์.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3): 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง