การศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด เกมเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน ระดับประถมศึกษา
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพข้อมูลพื้นฐาน หลักการ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเกมเป็นฐาน 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหา และความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนระดับประถมศึกษา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครอง และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาโรงเรียนสาธิตจำนวน 4 โรงเรียน ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้ในระดับประถมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า แนวคิดที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ คือ แนวคิด Gerlach and Ely, 1971-2014: 32; Kemp, 1985: 1-10; Arends, 2011: 7; Joyce, Weil, & Calhoun, 2015: 25-34, ทิศนา แขมมณี, 2559: 222 และการวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ลักษณะการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเกมเป็นฐาน 5 ขั้นตอน องค์ประกอบการเรียนรู้อย่างมีความสุข 5 องค์ประกอบ ขั้นตอนการคิดแก้ปัญหา 5 ขั้นตอนจากการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนพบว่า การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเกมเป็นวิธีการที่นักเรียนต้องการให้นำมาจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขและความสามารถในการคิดแก้ปัญหามากที่สุด ต้องเป็นกิจกรรมที่เป็นเรื่องราวใกล้ตัวที่ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ของตนเอง ดึงดูดความสนใจ เป็นเรื่องที่มีความหมายและสร้างความสนใจ ท้าทายผู้เรียนเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะเรียนรู้และสามารถเรียนรู้อย่างมีความสุขได้ด้วยตนเอง
Downloads
References
กรมสุขภาพจิต. (2566). รายงานการสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติ ปี พ.ศ. 2566 (หน้า 25). นนทบุรี: สำนักวิชาการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต.
กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). แนวทางการนิเทศ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ตามนโยบายลดเวลา เรียนเพิ่มเวลารู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
กิ่งกาญจน์ บูรณสินวัฒนกูล. (2563). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้บอร์ดเกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถการเรียนรู้ในรายวิชาพัฒนาการแบบเรียนภาษาไทยและความสุขในการเรียนรู้สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2564). การเรียนเชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัฒผล มารุต. (2559). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 12(1), 1–16. เข้าถึงได้จาก https://so05.tcithaijo.org/index.php/ suedureasearchjournal/article/view/240286.
รัตติกาล สิทธิยศ. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานสำหรับการศึกษาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารศึกษาศาสตร์, 48(1), 45–60.
ลัดดา หวังภาษิต. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนสาธิตสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2566). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (ONET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565. เข้าถึงได้จาก https://www.niets.or.th/ th/content/view/25618.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือครูหลักสูตรปรับปรุง 2560. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สิริกุล กิตติมงคลชัย. (2562). การพัฒนามาตรวัดความสุขในการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิทย์ มูลคำ. (2551). กลยุทธ์การสอนคิดวิพากษ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2552). 19 วิธีจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: การพิมพ์.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2564). การส่งเสริมสุขภาพสำหรับสมาชิกชมรมสร้างสุขภาพ. กรุงเทพฯ: (ม.ป.ท.)
วรรณภา เหล่าไพศาล. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาตามแนวทางพหุวัฒนธรรมศึกษาสำหรับนิสิตนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ในสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ. วารสารศึกษาศาสตร์, 44(2), 57–73.
วรัตต์ อินทสระ. (2563). Game Based Learning - The Latest Trend Education 2019 เปลี่ยนห้องเรียนเป็นห้องเล่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
วันทนา งาเนียม และพรสิริ เอี่ยมแก้ว. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารบัณฑิตวิจัย, 12(1), 55-67.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง.
Alessi, S. M., & Trollip, S. R. (2001). Multimedia for learning: Methods and development (3rd ed.). Allyn & Bacon.
Arends, R. J. (2011). Learning to Teach (5th ed.). Boston: McGraw-Hill.
Bloom, B. S. (Ed.). (1956). Taxonomy of educational objectives: The classification of educational goals. Handbook I: Cognitive domain. Longmans, Green.
Bostan, B. (2020, 22 April). Player motivations: A psychological perspective. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/220686151.
Dick, W. & Carey, L. (2021). The systematic design of instruction. Upper Saddle, River, New Jersey: Pearson Press.
Duke, R. D. (1974). Gaming: The future’s language. New York: Halsted Press.
Gerlach, V. S., & Ely, D. P. (1971). Teaching and Media: a Systematic Approach. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall.
Guilford, J.P. (1971). The Nature of Human Intelligence. NewYork. McGraw Hill.
Helliwell, J. F., Layard, R., & Sachs, J. (2010). The world happiness report 2010. Sustainable Development Solutions Network.
Jarvinen, A. (2011). Building customer relationship through game mechanics in social games. In V. Carvalho & M.
Cruz-Cunha. (Eds.), Business, technological and social dimensions of computer games: Multidisciplinary developments (pp. 348–365). Information Science Reference.
Joyce, B. R., Weil, M., & Calhoun, E. (2015). Models of teaching (9th ed.). Boston, MA: Pearson.
Kemp, J. E. (1985). The Instructional Design Process. New York: Harper & Row.
Layard, R. (2015). Learning with Happiness. London: Cambridge University Press.
Tan, C. P., Ling, T. C., & Ting, S. H. (2011). Attitudes and motivation of Malaysian secondary students towards learning English as a second language: A case study. 3L: The Southeast Asian Journal of English Language Studies, 17(1), 40–54.
UNESCO. (2015). Education for All 2015: Global Monitoring Report (Report No. 10).
United Nations Children’s Fund (UNICEF), & Save the Children. (2013). A better way to protect all children: The theory and practice of child protection systems. UNICEF.
Weir, J. J. (1974). Problem Solving Is Everybody’s Problem. Science Teacher, 4: 16-18.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง