การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างอัตลักษณ์ของ โรงเรียนจิตรลดาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • ทัชชา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

หลักสูตร, อัตลักษณ์, การมีส่วนร่วม, นักเรียนประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นสำหรับการออกแบบ และพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างอัตลักษณ์ของโรงเรียนจิตรลดา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรเสริมสร้างอัตลักษณ์ของโรงเรียนจิตรลดา ฯ ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนจิตรลดา จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการระดับประถมศึกษาโรงเรียนจิตรลดา จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนจิตรลดา จำนวน 1 คน ครูประจำชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 4 - 6 ของโรงเรียนจิตรลดา จำนวน 27 คน ที่ปฏิบัติหน้าที่ในปีการศึกษา 2567 และผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา (ร่าง) หลักสูตรเสริมสร้างอัตลักษณ์ของโรงเรียนจิตรลดา จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร 2) แบบสัมภาษณ์ผู้บริหาร 3) แบบสัมภาษณ์ครูประจำชั้น 4) ประเด็นการสนทนากลุ่มพิจารณาหลักสูตร 5) แบประเมิน(ร่าง)หลักสูตร ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นสำหรับการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร จากการสังเคราะห์ข้อมูลพบว่า องค์ประกอบของอัตลักษณ์ของโรงเรียนจิตรลดาที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ด้าน คือ ความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ความรักชาติและอนุรักษ์ความเป็นไทย การมีความประพฤติและกิริยามารยาทดี การมีจิตสาธารณะ และการมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น 2) การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร พบว่า หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นจะใช้ในคาบกิจกรรมโฮมรูมซึ่งมีสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง ระยะเวลาสำหรับการเรียนรู้ตลอดหลักสูตรทั้งหมดจำนวน 45 ชั่วโมง โดยหลักสูตรนี้ใช้ชื่อว่า “หลักสูตรดรุณพัฒน์แห่งจิตรลดา” ผลการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความเป็นไปได้ในการนำหลักสูตรไปใช้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา. (ม.ป.ท.).

ศิริกาญจน์ รัตนวิชช์. (2564). การบูรณาการกิจกรรมโฮมรูมเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียน. วารสารการบริหารการศึกษา, 15(1), 80-92.

สมพร พงษ์พานิช. (2566). การใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาหลักสูตร. วารสารวิชาการครุศาสตร์, 41(3), 23-38.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2563). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่. กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.

Cai, Y. (2021). Curriculum development and school identity: A case study of integrated character education. Journal of Educational Development, 45(3), 55-68.

Krause, K., Reilly, K., & Whitfield, C. (2021). School identity and student outcomes: Building connections for student success. Educational Review, 73(5), 678-693.

Lannegrand-Willems, L., Zimmermann, G., & Gabarrot, M. (2020). Identity development in childhood and adolescence: A decade in review. European Psychologist, 25(3), 156–170. Retrieved form https://doi.org/10.1027/1016-9040/a000400

MacDonald, C. (2021). Participatory action research: Theory and practice in education. Educational Action Research, 29(3), 321-337.

Santrock, J. W. (2022). Educational psychology (8th ed.). McGraw-Hill Education.

Shin, H., Lee, J., & Kim, S. (2020). Designing an integrated identity-based curriculum for elementary schools: Insights and strategies. International Journal of Educational Research, 102, 101-112.

Smith, J., & Taylor, L. (2020). The role of school culture in student identity development. Routledge.

Su, Y., & Lin, S. (2022). Fostering moral identity and school belonging through identity-based education in primary school students. Journal of Moral Education, 51(4), 465–481. Retrieved form https://doi.org/10.1080/03057240.2021.1942806

Thomas, R., Lee, M., & Carter, S. (2023). Curriculum and identity: The role of structured programs in primary education. International Journal of Educational Development, 94(5), 102-114.

Tosuncuoglu, I. (2019). Developing students' identity and character through curriculum design. Journal of Education and Learning, 8(3), 235-245.

Truong, M., Hallinger, P., & Sanga, K. (2020). Strengthening school identity through character education. International Journal of Leadership in Education, 23(5), 617-632.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-30

How to Cite

ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ท., & กิจรุ่งเรือง ป. . (2025). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างอัตลักษณ์ของ โรงเรียนจิตรลดาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 19(1), 226–240. สืบค้น จาก https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/863