การพัฒนาทักษะการเขียนพยัญชนะไทยโดยใช้ประสาทสัมผัสร่วมกับการใช้บัตรคำรหัสสี สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • ธัญลักษณ์ พุดคุม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • รักษิณา หยดย้อย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • พรรณรอง ฐิติพรวณิช คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

คำสำคัญ:

การเขียนพยัญชนะไทย, ประสาทสัมผัสร่วมกับการใช้บัตรคำรหัสสี, นักเรียนที่มีความบกพร่อง ทางสติปัญญา

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะในการเขียนพยัญชนะไทยของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากการสอนโดยใช้ประสาทสัมผัสร่วมกับการใช้บัตรคำรหัสสี 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะในการเขียนพยัญชนะไทยก่อนและหลังของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  โดยใช้ประสาทสัมผัสร่วมกับการใช้บัตรคำรหัสสี กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ชั้นประถมศึกษปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญา จำนวน 5 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย จำนวน 10 แผน 2) แบบทดสอบวัดทักษะการเขียนพยัญชนะไทยก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ประสาทสัมผัสร่วมกับการใช้บัตรคำรหัสสีและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ (interquartile range, IQR) และ สถิติ The Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test

ผลการวิจัยพบว่า

1. ทักษะการเขียนพยัญชนะไทย โดยการใช้ประสาทสัมผัสร่วมกับการใช้บัตรคำรหัสสี ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า เด็กมีทักษะการเขียนพยัญชนะไทยอยู่ในระดับดี

2. ผลการเปรียบเทียบทักษะการเขียนพยัญชนะไทย โดยการใช้ประสาทสัมผัสร่วมกับการใช้บัตรคำรหัสสีของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า คะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพใน การพัฒนาทักษะการเขียนพยัญชนะไทยของนักเรียน

Downloads

Download data is not yet available.

References

จิราวรรรณ พุ่มศรีอินทร์. (2553). มาทำความเข้าใจวิธีการจับดินสอก่อนฝึกให้ลูกเขียน. สืบค้น เมื่อ 20 ตุลาคม 2553. สืบค้นจาก http://www.wattanasatitschool.com.

จิรดา แก้วขาว. (2557). การใช้สีกำหนดพยัญชนะเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านคำมาตราตัวสะกดแม่กน ที่ไม่ตรงตามมาตรา ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร. 8(3), 1–15.

ณัฐธยาน์ เชาว์เฉลิมกุล. (2554). การศึกษาความสามารถเขียนพยัญชนะไทยของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความบกพร่องสติปัญญาระดับน้อย จากการสอนที่ใช้ประสาทสัมผัสหลายด้านร่วมกับการใช้สีรหัส. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 7(1), 10–25.

พิชญา พิมพ์สุข. (2558). การใช้สื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาของครูและบุคลากร ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9 จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สืบค้นจาก https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9315?locale=th.

วัลลพ อยู่ดี. (2551). การใช้กลวิธีพหุประสาทสัมผัสเพื่อส่งเสริมความรู้ด้านคำศัพท์ และการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนสายตาเลือนราง, ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การสอนภาษาอังกฤษ) เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นจาก https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc%3A118666.

วัลลาดา กาวิตา. (2550). การพัฒนาชุดการสอนทักษะการเขียนผ่านประสาทสัมผัสสามด้านเพื่อพัฒนาทักษะการ เขียนของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 โรงเรียนศึกษา สงเคราะห์จันทบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรีเขต 2. คณะครุศาสตร์ (สาขาวิซาการศึกษาพิเศษ) กรุงเทพ ฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. 100–150.

ศิวกร สุวรรณไตรย์. (2552). การพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ พฤติกรรม การกล้าแสดงออกทางความคิด และเจตคติต่อการเขียนเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้แนวคิด พหุสัมผัสและเทคนิคผังความคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน) สกลนคร: บัณฑิตวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 100–150.

ศศิธร ชมภู. (2563). การพัฒนาการเขียนพยัญชนะไทยในเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาโดยใช้การสอนที่ใช้ประสาทสัมผัสหลายด้านร่วมกับการใช้สี. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. จาก https://ayutthayaspecial.ac.th/news-detail_2335_47535.

สุนทรี ธำรงโสตถิสกุล. (2560). การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานและแนวคิดพหุประสาทสัมผัสสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านการอ่านระดับประถมศึกษา. รายงานการวิจัย. ศูนย์พัฒนาศักยภาพนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ. อุตรดิตถ์. สืบค้นจาก https://www.taiit.ac.th

สุนิสา ศรีสุวรรณ, และอรวรรณ แก้วประเสริฐ. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านเขียนของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับฝึกได้ โดยใช้วิธีสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 15(1), 1-16.

แสงอรุณ มโนมัยอุดม. (2563). การพัฒนาความสามารถทางการเขียนพยัญชนะไทยของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยชั้นประถมศึกษา ด้วยสมุดร่องพยัญชนะร่วมกับวิธีเฟอร์นาลด (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สืบค้นจาก https://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/663/1/gs601130162.pdf

Puansurin N. (2019). The Study on Thai Vocabulary Spelling Abilities of Children With Retardation in Prathom Suksa I by Using Games. Bangkok : Srinakharinwirot University. สืบค้นจาก https://www.swu.ac.th.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-30

How to Cite

พุดคุม ธ., หยดย้อย ร. ., & ฐิติพรวณิช พ. (2025). การพัฒนาทักษะการเขียนพยัญชนะไทยโดยใช้ประสาทสัมผัสร่วมกับการใช้บัตรคำรหัสสี สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 19(1), 15–26. สืบค้น จาก https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/756