องค์ประกอบการประเมินหลักสูตรการพัฒนาครูและผู้บริหารด้วยรูปแบบการสะท้อนคิด PLC ผ่านประสบการณ์บูรณาการและเทคโนโลยีการบริหารจัดการองค์กร เพื่อความเป็นเลิศ กรณีศึกษา: โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ จังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • ดิษลดา เพชรเกลี้ยง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • รณกฤต เพชรเกลี้ยง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • แฝงกมล เพชรเกลี้ยง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • วรศิริ ผลเจริญ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การประเมินหลักสูตร, ครูผู้บริหาร, การจัดการองค์กร, ความเป็นเลิศ, อ่าน, เขียน, คิดวิเคราะห์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการประเมินหลักสูตรการพัฒนาครูและผู้บริหารด้วยรูปแบบการสะท้อนคิด PLC ผ่านประสบการณ์บูรณาการและเทคโนโลยีการบริหารจัดการองค์กรเพื่อความเป็นเลิศกรณีศึกษา: โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์จังหวัดสมุทรสาคร โดยผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือและร่วมกันกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนมีการบริหารงานที่ประกอบด้วยคุณธรรมความรู้และเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งเน้นวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้านหลักสูตร และการประเมินหลักสูตร ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย นักศึกษา จำนวน 100 คน บัณฑิต จำนวน 50 คน และผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 300 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) อาจารย์ จำนวน 40 คน ผู้บริหาร จำนวน 20 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสถิติชั้นสูง แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 ได้ค่าน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง 0.30-0.57 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล df, p, GFI, AGFI, CFI, RMSEA

ผลการวิจัย  พบว่า

1. องค์ประกอบเชิงยืนยันด้านหลักสูตร ประกอบด้วย คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ความเข้าใจ ความฉลาดทางปัญญา ความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ และการบริหารจัดการด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.74 - 0.93

2. องค์ประกอบเชิงยืนยันด้านการประเมินหลักสูตร ประกอบด้วย บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.74 - 0.93

Downloads

Download data is not yet available.

References

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางการพัฒนาและประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จันตรี คุปตะวาทิน. (2553). การพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 4). สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จุฑาทิพย์ จันเรือน. (2552). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ปรับปรุง พ.ศ.2543). วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ .

จุฑาพร ช่วยชูวงศ์. (2552). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนพลวิทยาระบบสองภาษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ชวลิต ชูกาแพง. (2551). การพัฒนาหลักสูตร Curriculum Development. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2556). การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : วีพรินท์.

พศิน แตงจวง. (2554). รูปแบบการพัฒนาสมรรนะบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : ดวงกมล.

พันธุ์ทิพย์ ธรรมสโรช. (2565). การควบคุมกำกับและประเมินผลเชิงกลยุทธ์. (เอกสารประกอบการสอน). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2561). ผู้นำองค์กรในโลก VUCA. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 24(3), 451.

พิรุฬห์พร แสนแพง และพงศ์เทพ จิระโร. (2563). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาตนเองด้วยกระบวนการ PLC ของครูศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย การพัฒนารูปแบบการพัฒนาตนเองด้วยกระบวนการ PLC ของครูศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 6 (2), 1-2.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-30

How to Cite

เพชรเกลี้ยง ด. ., เพชรเกลี้ยง ร. ., เพชรเกลี้ยง แ. ., & ผลเจริญ ว. . (2025). องค์ประกอบการประเมินหลักสูตรการพัฒนาครูและผู้บริหารด้วยรูปแบบการสะท้อนคิด PLC ผ่านประสบการณ์บูรณาการและเทคโนโลยีการบริหารจัดการองค์กร เพื่อความเป็นเลิศ กรณีศึกษา: โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 19(1). สืบค้น จาก https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/812