ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษาต่อความคิดสร้างสรรค์ ทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • มัณฑนา แจ้งกระจ่าง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ชนินันท์ พฤกษ์ประมูล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษาโดยทำการ
1) เปรียบเทียบ คะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียน และ 2) ศึกษาพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ศึกษาในภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ของโรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร เขตธนบุรี จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) งานวิจัยนี้ เป็นงานวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นแบบ One group pretest – posttest design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวสะตีมศึกษา หน่วยการเรียนรู้เรื่อง พลังงานบนโลกของเรา โดยการใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษา 2) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละของจำนวนนักเรียนตามระดับความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียน การทดสอบค่าทีแบบสองกลุ่ม ที่ไม่เป็นอิสระต่อกันและคะแนนพัฒนาการของความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์

ผลการวิจัยพบว่า

1. นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์โดยภาพรวมและตามองค์ประกอบหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษาสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. นักเรียนมีพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับกลางมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 43.3

3. นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษา สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

References

วรรณพร สิงห์บุญ, นวลจิตต์เชาวกีรติพงศ์ และดวงเดือน สุวรรณจินดา. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสะตีมศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง สารในชีวิตประจำวัน และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนปู่เจ้าสมิงพราย จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 36(3), 146-162.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2565). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. เข้าถึงได้จาก https://www.ipst.ac.th/

สมรัก อินทวิมลศรี, สกลรัชต์ แก้วดี และสิทธิพร ภัทรดิลกรัตน์. (2562). ผลของการใช้แนวคิดสะตีมศึกษาในวิชาชีววิทยาที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 47(2), 410-429. เข้าถึงได้จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/196409.

อรอุมา ดิษกิ่งสะแกราช. (2565). ผลการใช้กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ตามแนวสะเต็มศึกษาที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.

Hu, W., & Adey, P. (2002). A scientific creativity test for secondary school students. International Journal of Science Education, 24(4), 389-403.

Harackiewicz, J., Durik, A., Barron, K., Linnenbrink-Garcia, L., & Tauer, J. (2008). The role of achievement goals in the development of Interest: Reciprocal relations between achievement goals, interest, and performance. Journal of Educational Psychology, 100, 105-122.

Hu, W., Adey, P., Shi, Q. Z., Han, Q., & Wang, X. (2010). Creative scientific problem finding and its developmental trend. Creativity Research Journal, 22(1), 46-52. Retrieved from https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/1040041090 3579551

Siew, N. M., Chong, C. L., & Chin, K. O. (2014). Developing a scientific creativity test for fifth graders. Journal Article Problems of Education in the 21st Century, 62,109-123.

Riley, S. M. (2016). 6Steps to creating a STEAM classroom. Retrieved from https:// educationcloset.com/2016/02/25/6-steps-to-creating-a-steam-centered-classroom/

Raj, H., & Saxena, D. R. (2021).Scientific creativity: A review of researches. European Academic Research, IV, 1122-1138.

Yakman, G. (2008). STEAM Education: An Overview of Creating a Model of Integrative Education. In The Pupils’ Attitudes Towards Technology Conference. pp. 1-28.

Yang, X., Blagodatsky, S., Lippe, M., Liu, F., Hammond, J., Xu, J., & Cadisch, G. (2016). Land-use change impact on time-averaged carbon balances: Rubberexpansion and reforestation in a biosphere reserve, South-West China. Journal Forest Ecology and Management, 372(3), 149-163.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-30

How to Cite

แจ้งกระจ่าง ม. ., & พฤกษ์ประมูล ช. . (2025). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษาต่อความคิดสร้างสรรค์ ทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 19(1), 62–74. สืบค้น จาก https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/827