แนวทางการจัดการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อมุ่งสู่อาชีพของนักเรียนใน อนาคตสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

ผู้แต่ง

  • ธนชัย ใจสา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

แนวทางการจัดการศึกษา, ผู้บริหารสถานศึกษา, การเตรียมความพร้อมสู่อาชีพ,, นักเรียนในอนาคต, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบการจัดการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อมุ่งสู่อาชีพของนักเรียนในอนาคตจำแนกตามช่วงอายุ 2) เพื่อเปรียบเทียบการจัดการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อมุ่งสู่อาชีพของนักเรียนในอนาคตจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อมุ่งสู่อาชีพของนักเรียนในอนาคต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครูจากสถานศึกษา จำนวน 59 แห่ง รวม 177 คน โดยเลือกด้วยวิธีสุ่มอย่างง่ายตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และ t-test สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการเปรียบเทียบการจัดการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามช่วงอายุโดยภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่าย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ผลการเปรียบเทียบการจัดการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่าย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อมุ่งสู่อาชีพของนักเรียนในอนาคต ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ (1) การวางแผนและนโยบาย (2) การพัฒนาหลักสูตร (3) การจัดการเรียนการสอน (4) การสนับสนุนสื่อและแหล่งเรียนรู้ (5) การมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่าย และ (6) การนิเทศ วัดผล และประเมินผล

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563, 25 มิถุนายน). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. เข้าถึงได้จาก http://www.moe.go.th/พรบ-การศึกษาแห่งชาติ-พ-ศ-2542/.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564, 25 มิถุนายน). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการจัดการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2565). เข้าถึงได้จาก http://cbethailand.com/wp-content/uploads/2021/10/3-นโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ.pdf

จักรกฤษณ์ จันทะคุณ และ สุพรทิพย์ ธนภัทรโชติวัต. (2567). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นแบบผสมผสาน: กรณีศึกษาโรงเรียนบ่อแก้ววิทยา จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารรอยแคนสาร, 9(10), 654–672.

จินดา อุ่นทอง. (2565). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถการวิจัยในชั้นเรียนของครูการศึกษาพิเศษ โดยใช้การพัฒนาบทเรียนร่วมกันกับทีมสหวิชาชีพ. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

จุติพร มาเพิ่มผล. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งควายกิน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธนเดช ศรีสุวรรณ. (2564). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

บรรณกร แซ่ลิ่ม. (2566). แนวทางการพัฒนาผลลัพธ์ด้านการเรียนรู้ของผู้เรียนตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) คณะศิลปะศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารรอยแคนสาร, 9(7), 464–479. เข้าถึงได้จาก https://so02.tcithaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/273936

บุษกร วิเศษสมบัติ. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะอาชีพและเจตคติต่ออาชีพของนักเรียนโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38(103), 215.

ปฎาชมัย ทองชุมนุม. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการประกอบอาชีพสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนขยายโอกาส. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). เข้าถึงได้จาก https://ph01.tcithaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view /244517

พยนต์ น้อยนาดี. (2564). การประเมินโครงการนิเทศภายในวิทยาลัยเทคนิคพังงา ปีการศึกษา 2564. วารสารการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา, 1(1), 1–10.

ภาณุวัฒน์ แก้วพุฒ, หยกแก้ว กมลวรเดช และสุรเชษฐ์ บุญยรักษ์. (2566). แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มโรงเรียนฟากท่า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2. วารสารรอยแคนสาร, 9(9), 189–205.

วราพร บุญมี. (2564). สื่อการสอนกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์, 14(1), 1–12.

วราลักษณ์ อาจวิชัย. (2565). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สมพานรัศมี พรมโสภา. (2565). การพัฒนาแนวทางการนิเทศ ติดตามและประเมินผลโดยใช้วงจรคุณภาพ AF Model เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนนาผือโคกกอก (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566, 16 มีนาคม). นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. เข้าถึงได้จาก http://www.bopp.go.th /?p=2763.

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ. (2564, 21 ตุลาคม). การเตรียมความพร้อมของภาคเอกชน ภาครัฐ และสถาบันอุดมศึกษา รองรับทักษะแห่งอนาคตของแรงงานไทย. เข้าถึงได้จาก https://www.nxpo.or.th/th/9126/

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565, 24 ตุลาคม). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566- 2576). เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc.go.th/download/Plan13/Doc/Plan13_Final.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). ทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต (Future Skill) เพื่อเตรียมการพัฒนาคุณภาพคนไทยทุกช่วงวัยรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Disruption) ของโลกศตวรรษที่ 21 : ผลการศึกษาและแนวทางการส่งเสริม. นครปฐม : เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป.

สำเร็จผล นาคะบุตร, ศิริพร บูรณพานิช, และพัชรี แย้มสำราญ. (2567). การศึกษาแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2565: สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น. วารสารพุทธจิตวิทยา, 9(3), 355–369.

สุวิน ศรีเมือง และ ภูกิจ ยลชญาวงศ์. (2563). การมีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่ายประชารัฐของประชาชนตำบลท่าล้อ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 11(1), 73–85.

อรทัย ศรีสวัสดิ์. (2564). การศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เบญจพร สุคนธร. (2565). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). เข้าถึงได้จาก https://so05.tcithaijo.org/index.php/RRBR/ article/view/275350

เบ็ญจกุล ศิริพร และ เพชรมนต์ ปุณยานุช. (2567). ความต้องการและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยแบบบูรณาการอัตลักษณ์ท้องถิ่น สำหรับนักศึกษาครู สาขาวิชาภาษาไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 24(2), 166–180.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-30

How to Cite

ใจสา ธ. (2025). แนวทางการจัดการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อมุ่งสู่อาชีพของนักเรียนใน อนาคตสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 19(1), 193–211. สืบค้น จาก https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/828