การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, ทักษะการแก้ปัญหา, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา 2) เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังการใช้ชุดกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง(ฝ่ายประถม) ปีการศึกษา 2566 จำนวน 35 คน ที่ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยสุ่มห้องเรียนซึ่งจัดห้องเรียนเป็นแบบคละความสามารถ และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์แต่ละห้องไม่แตกต่างกัน เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยนี้ ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา 2) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา 3) แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหา และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้t-test one group วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา โดยใช้สถิติพื้นฐานการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.04/81.29 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียน หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ฯ อยู่ในระดับดีมาก
Downloads
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ฒิชากร ปริญญากาญจน์ และศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TAI เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้เรื่องการบวก และ
การลบเลข ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 17(2), 115–128.
ทิศนา แขมณี และบังอร เสรีรัตน์. (2563). การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
ทิศนา แขมมณี. (2565). การใช้การเรียนรู้เชิงรุกในระบบการศึกษาไทย. วารสารการศึกษาวิจัย, 15(3), 98-112.
นภาพร เนียมสุข, และสุภัทรา คงเรือง. (2024). การพัฒนาชุดกิจกรรมการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ซิปปาโมเดลร่วมกับเทคนิค เค ดับเบิ้ล ยู ดี แอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 12(6), 2429-2442.
มลิวัลย์ โพธิมณี, เยาวเรศ ใจเย็น และวิวัฒน์ เพชรศรี. (2024). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ แก้โจทย์ปัญหาของโพลยาร่วมกับเทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล เรื่องเศษส่วน เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 10(2), 113-127.
วิษณุ ทรัพย์สมบัติ. (2565). สรุปผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/100064688979214/posts/372888754 877421/
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2563). Active learning การเรียนรู้เชิงรุก: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ส เจริญ การพิมพ์.
Santos, R., Santiago, A., & Cruz, C. (2024). Problem Posing and Problem Solving in Primary School: Opportunities for the Development of Different Literacies. Education Sciences, 14(1), 97.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง