การใช้ความคิดรวบยอดในการสอนภาษาร่วมกับการป้อนกลับเพื่อส่งเสริม ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • สมบัติ คำมูลแก้ว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

ความคิดรวบยอดในการสอนภาษา, การป้อนกลับ, ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการใช้ความคิดรวบยอดในการสอนภาษาร่วมกับการป้อนกลับ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของผู้เรียน ก่อนและหลังการเรียนโดยการใช้ความคิดรวบยอดในการสอนภาษาร่วมกับการป้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการอ่านเพื่อคิดวิเคราะห์สำหรับครูภาษาอังกฤษ (1092301) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 20 คน ผู้วิจัยได้พัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยซึ่งประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ จำนวนทั้งหมด 6 แผนและแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ หลังจากนั้นได้นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของผู้เรียนหลังเรียนโดยใช้ความคิดรวบยอดในการสอนภาษาร่วมกับการป้อนกลับมีระดับคุณภาพเพิ่มขึ้นจากระดับปานกลางเป็นระดับดีมากโดยผู้เรียนมีระดับเฉลี่ยของคะแนนจากร้อยละ 68.33 เพิ่มเป็น 83.50 ผู้เรียนมีพัฒนาการชัดเจนในด้านความสามารถในการจับใจความสำคัญของเนื้อหา ความสามารถในการตอบคำถามเชิงวิเคราะห์ และความสามารถในการคาดเดาความหมายของคำศัพท์จากบริบท สะท้อนถึงความเข้าใจเชิงลึกและทักษะการวิเคราะห์ที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเรียน

2. การใช้ความคิดรวบยอดในการสอนภาษาร่วมกับการป้อนกลับส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางด้านทักษะการอ่านอย่างเป็นรูปธรรม โดยผู้เรียนสามารถใช้แนวคิดหลักที่เรียนรู้เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาได้ชัดเจนขึ้น มีความสามารถในการจับประเด็นสำคัญ และตอบคำถามเชิงวิเคราะห์ได้ดีขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเรียน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมวิชาการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ชลิตา ชาญวิจิตร และธีรวัฒน์ จันทึก. (2561). การให้ข้อมูลป้อนกลับที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานในสายการผลิต (Feedbacks giving that affect the performance of employees in the production line). วารสารการศึกษา Veridian E-Journal. Silpakorn University, 11(1), 290-302.

ผัสสพรรณ ถนอมพงษ์ชาติ, สุมาลี ชิโนกุล และ สำลี ทองธิว. (2556). การศึกษาความเหมาะสมของการประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ ในการประเมินหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น และความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในสถานศึกษา. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 7(2), 37-57.

วรรณรัตน์ ศรีกนก. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ความคิดรวบยอดเป็นฐาน. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(3), 10-18.

สมุทร เซ็นเชาวนิช. (2542). เทคนิคการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2018). Research methods in education (8th ed.). Routledge.

Crystal, D. (2003). English as a global language (2nd ed.). Cambridge University Press.

Daft, R. L., & Lewin, A. Y. (2008). Perspective—Rigor and relevance in organization studies: Idea migration and academic journal evolution. Organization science, 19(1), 177-183.

Erickson, L. (2002). Concept-based curriculum and instruction: Teaching beyond the facts. Thousand Oaks, Calif. : Corwin Press.

Grabe, W., & Stoller, F. L. (2019). Teaching and researching reading. Routledge.

Guilding, C., Kelly, R., Netere, A., Babey, A. M., Restini, C., Cunningham, M., Kelly, J., Koenig, J., Karpa, K., Hawes, M., Tucker, S., Angelo, T., & White, P. (2023). Developing an international concept-based curriculum for pharmacology education: Core concepts and concept inventories.

Harris, A. J. (1990). How to increase reading ability: A guide to developmental and remedial methods. New York: Longman.

Nation, I. S. (2008). Teaching ESL/EFL reading and writing. New York : Routledge.

UNESCO, P. (2021). Reimagining our futures together: A new social contract for education. Paris, France: Educational and Cultural Organization of the United Nations.

Wiggins, G., & McTighe, J. (2011). The understanding by design guide to creating high-quality units. ASCD.

Williams, J. L. (1986). The Behavioral and the Mystical: Reflections on Behaviorism and Eastern Thought. The Behavior Analyst, 9(2), 167-173.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-30

How to Cite

คำมูลแก้ว ส. . (2025). การใช้ความคิดรวบยอดในการสอนภาษาร่วมกับการป้อนกลับเพื่อส่งเสริม ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง . วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 19(1), 100–111. สืบค้น จาก https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/865