การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความที่ส่งมาตีพิมพ์ต้องไม่เคยตีพิมพ์ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารใด ๆ และข้อมูลปฐมภูมิที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล จะต้องมีระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี นับตั้งแต่สิ้นสุดการเก็บข้อมูล
  • การเขียนชื่อเจ้าของบทความหลัก e-mail เบอร์โทรศัพท์ และสถานที่ทำงาน ขอให้เป็นไปตามรูปแบบที่วารสารนวัตกรรมและการจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืนกำหนด (โปรดดูตัวอย่างจากบทความในวารสาร)
  • การเตรียมต้นฉบับ ชื่อเรื่อง บทคัดย่อ คำสำคัญ ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และเป็นไปตามคำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับที่วารสารนวัตกรรมและการจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืนกำหนด
  • การอ้างอิงในเนื้อหา และเอกสารอ้างอิงท้ายบทความใช้ตามหลักเกณฑ์ APA 7 (American Psychological Association) และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาอย่างถูกต้อง มีการให้ URLs ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต ไม่มีปัญหาการลอกเลียนงานวิชาการ (Plagiarism)
  • ต้นฉบับต้องพิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด โดยใช้ตัวอักษร TH Sarabun PSK การแสดงรูปภาพ แผนภูมิ และตารางขอให้อยู่ในเนื้อหาที่สอดคล้องกัน
  • ส่งบทความ และ “แบบฟอร์มเสนอบทความเพื่อการพิจารณาตีพิมพ์” มาที่บรรณาธิการวารสารนวัตกรรมและการจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืน E-mail: jisbm.kio@gmail.com

คำแนะนำผู้แต่ง

https://docs.google.com/document/d/19dZ9e2EK5izNSShs0eflzPE88AgE8FEv/edit

วิธีการจัดทำต้นฉบับ

  1. ชื่อเรื่อง มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และกำหนดชื่อเรื่องอย่างย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อใช้เป็นหัวเรื่อง (Running heads)
  2. ชื่อผู้เขียน ระบุชื่อเต็มของผู้เขียน ทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  3. หน่วยงานของผู้เขียน ระบุชื่อหน่วยงาน จังหวัด รหัสไปรษณีย์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  4. บทคัดย่อ มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 300 คำ และระบุคำสำคัญ จำนวนไม่เกิน 5 คำ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  5. คำนำ เรียบเรียงโดยแสดงถึงความสำคัญและที่มาของงานวิจัย ตรวจเอกสารที่เกี่ยวข้อง และวัตถุประสงค์ของงานวิจัย
  6. อุปกรณ์และวิธีการ เรียบเรียงโดยแสดงวิธีการศึกษาตามขั้นตอน อธิบายหน่วยทดลองและแผนการทดลองที่ใช้ แสดงสมการเชิงสถิติพร้อมคำอธิบาย และระบุสถานที่ทดลองหรือสถานที่จัดเก็บตัวอย่างและข้อมูล
  7. ผลการทดลองและวิจารณ์ เรียบเรียงผลการทดลองและวิจารณ์ผลการทดลอง โดยแสดงภาพและตารางเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น และอ้างถึงภาพและตารางตามลำดับในเนื้อหา โดยใช้คำว่า Figure ในการอ้างอิงภาพและใช้คำว่า Table ในการอ้างอิงตาราง
  8. กิตติกรรมประกาศ อาจมีหรือไม่มีก็ได้ เรียบเรียงย่อหน้าเดียวแบบกระชับ ระบุแหล่งทุนวิจัย บุคคลและหน่วยงานที่ให้ความอนุเคราะห์หรือมีส่วนร่วมในงานวิจัย
  9. เอกสารอ้างอิง เรียบเรียงเอกสารอ้างอิงโดยใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมด ในกรณีเอกสารอ้างอิงเป็นภาษาไทย ให้ปรับเป็นภาษาอังกฤษและต่อท้ายเอกสารอ้างอิงนั้นด้วยคำว่า (in Thai) เรียงลำดับเอกสารอ้างอิงตามตัวอักษรของนามสกุลผู้แต่งคนแรก ทั้งนี้ ผู้แต่งต้องตรวจสอบจำนวนเอกสารอ้างอิงให้ตรงกับในเนื้อหา

วิธีการเขียนเอกสารอ้างอิง

  1. การเขียนอ้างอิงในเนื้อหา

     ใช้นามสกุลของผู้แต่งคนแรก แล้วตามด้วยปี เช่น Keonouchanh (2002), Hanna and Riley (2014) และ Pantelic et al. (2011) เป็นต้น กรณีมีผู้เขียนหลายคน ให้เรียงตามปีจากน้อยไปมาก ถ้าเป็นปีเดียวกันเรียงตามตัวอักษร คั่นเอกสารด้วยเครื่องหมาย “;” เช่น (Schukken et al., 1994; Tummaruk et al., 2001) กรณีผู้เขียนคนเดียวกันหรือกลุ่มเดียวกัน ให้เรียงตามปี คั่นด้วยเครื่องหมาย “;” เช่น (Serenius and Stalder, 2004; 2007) กรณีผู้เขียนคนเดียวกันหรือกลุ่มเดียวกันในปีเดียวกัน ให้ใช้อักษรกำกับตามลำดับ คั่นด้วยเครื่องหมาย “;” เช่น (Department of Livestock Development, 2014a; 2014b)

  1. การเขียนอ้างอิงในส่วนเอกสารอ้างอิง

     ให้เรียงลำดับเอกสารอ้างอิงตามตัวอักษรภาษาอังกฤษของนามสกุลของผู้แต่งคนแรก ตามด้วยคำย่อชื่อ และชื่อกลาง (ถ้ามี) ของผู้แต่ง หรือใช้ชื่อเต็มหน่วยงาน แล้วตามด้วยปีที่ตีพิมพ์ ให้ใช้ชื่อย่อวารสารตามคำแนะนำของ NCBI (http://www.ncbi.nlm.nih.gov/journals/) กรณีที่ใช้เอกสารอ้างอิงเป็นภาษาไทย ให้ปรับเป็นภาษาอังกฤษและต่อท้ายเอกสารอ้างอิงนั้นด้วยคำว่า (in Thai) และกำหนดให้รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงแต่ละประเภท ดังนี้

(หนังสือ/ตำรา)

Mauseth, J.D.  2014.  Botany: An Introduction to Plant Biology. 5th edition.  Jones & Bartlett Learning, MA, USA. 696 pp.

(บทความในวารสารวิชาการ)

Hanna, L.L.H. and D.G. Riley.  2014.  Mapping genomic markers to closest feature using the R package Map2NCBI.  Livest. Sci. 162: 59 – 65.

Pantelic, V., L. Sretenovic, D. Ostojic-Andric, S. Trivunovic, M. M. Petrovic, S. Alevica and D. Ruzic-Muslic.  2011.  Heritability and genetic correlation of production and reproduction  traits of Simmental cows. Afr. J. Biotechnol. 10: 7117 – 7121.

(บทความในเอกสารการประชุมวิชาการ)

Rushunju, B.G., P. Jitareerat, M. Buanong, V. Srilaong and A. Uthairatanakij.  2016.  The effect of UV-B treatment on physicochemical and sensory quality of king oyster mushroom (Pleurotus eryngii) during cold storage. In Proc. the 54th Kasetsart University Annual Conference, 2 – 5 February 2016.  p. 1141. (in Thai)

(วิทยานิพนธ์)

Keonouchanh, S.  2002.  Genetic Analysis of Sows Longevity and Lifetime Productivity in Two Purebred Swine Herds. MS Thesis, Chulalongkorn University, Bangkok. (in Thai)

(บทความในเว็ปไซต์)

VanRaden, P.M.  2011.  Findhap.f90.  Available Source: http://aipl.arsusda.gov/software/findhap, September 26, 2014.

 

บทความวิชาการ

Section default policy

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมล หรือข้อมูลส่วนบุคคล ที่กรอกในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในงานวารสารเท่านั้นและจะไม่เปิดเผยเพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่น ๆ หรือให้กับบุคคลหรือหน่วยงานอื่นใดทราบ