จริยธรรมของการตีพิมพ์
จริยธรรมของการตีพิมพ์ (Publication Ethics)
1. จริยธรรมของผู้เขียนบทความ
1.1 ผู้เขียนบทความมีหน้าที่พิจารณาว่าต้นฉบับของบทความที่ส่งให้วารสารพิจารณาตีพิมพ์จะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน ตลอดจนไม่ส่งต้นฉบับบทความซ้ำซ้อนกับวารสารอื่น
1.2 บทความที่ผู้เขียนส่งมาให้บรรณาธิการต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบเขต หากไม่สอดคล้องตามวารสารกำหนดจะถูกปฏิเสธการรับบทความ
1.3 ผู้เขียนต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น หากมีการนำข้อความมาใช้ในผลงานของตนเองต้องคำนึงถึงหลักจริยธรรมคือต้องจัดทำเอกสารอ้างอิงไว้ท้ายบทความของตนเองทุกครั้ง
1.4 ผู้เขียนบทความมีหน้าที่พิจารณาว่าต้นฉบับของบทความดำเนินการจัดรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร
1.5 ผู้เขียนบทความมีหน้าที่พิจารณาว่าต้นฉบับของบทความได้รับการตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิงทั้งในของรูปแบบ และเนื้อหา ทั้งในส่วนของการอ้างอิงในบทความ และเอกสารอ้างอิง
1.6 กรณีเป็นบทความวิจัย หากมีการวิจัยในมนุษย์ ผู้เขียนจะต้องแนบหนังสือรับรองที่ได้รับอนุญาตให้ทำการวิจัยในมนุษย์ จากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ และระบุหมายเลขหรือรหัสการรับรองลงในบทความ ในหัวข้อ "ระเบียบวิธีวิจัย" และรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย โดยไม่ปิดบังซ่อนเร้น ไม่ให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือทำให้เข้าใจผิด
2. จริยธรรมของกองบรรณาธิการ
2.1 กองบรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความที่ขอพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารที่รับผิดชอบ และไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว
2.2 กองบรรณาธิการต้องใช้เหตุผลทางวิชาการในการพิจารณาบทความทุกครั้งโดยปราศจากอคติที่มีต่อบทความและผู้เขียนในด้านเชื้อชาติ เพศ ศาสนา วัฒนธรรม การเมือง และสังกัดของผู้เขียน
2.3 กองบรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียน และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพิจารณา
2.4 กองบรรณาธิการต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียนหรือผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่นำบทความหรือวารสารไปใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจหรือนำไปเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง
2.5 จัดระบบการตรวจสอบการคัดลอกผลงาน (Plagiarism) ในบทความอย่างจริงจัง โดยใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้และเป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการ ซึ่งวารสารใช้โปรแกรม Copy Catch ของระบบ ThaiJO โดยกำหนดความซ้ำของผลงานไม่เกิน 20%
2.5 กองบรรณาธิการสามารถดำเนินการถอนบทความได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เขียน เมื่อตรวจพบว่า บทความมีการลอกเลียนบทความอื่นโดยมิชอบ หรือมีการปลอมแปลงข้อมูล ซึ่งสมควรถูกถอดถอน แม้ว่าผู้เขียนจะปฏิเสธถอนบทความตนเองก็ตาม
3. จริยธรรมของผู้ประเมินบทความ
3.1 ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ส่งตีพิมพ์หรือข้อมูลผู้เขียน แก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
3.2 ผู้ประเมินบทความต้องไม่มีมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนผู้ประเมินบทความ หากไม่แน่ใจจะต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความ
3.3 ผู้ประเมินบทความต้องคำนึงถึงคุณภาพบทความเป็นหลักพิจารณาบทความภายใต้หลักการและเหตุผลทางวิชาการโดยปราศจากอคติหรือความคิดเห็นส่วนตัว และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียน
3.4 ผลการพิจารณาบทความถือเป็นสิทธิ์ขาดของบรรณาธิการวารสาร