รูปแบบการปรับตัวของผู้ประกอบการร้านอาหาร ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในจังหวัดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลกระทบจากโรคไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ที่ส่งผลต่อผู้ประกอบการร้านอาหาร 2) เพื่อศึกษากลยุทธ์ในการวางแนวทางในแก้ไขผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ที่ส่งผลต่อผู้ประกอบการร้านอาหาร และ (3) เพื่อพัฒนารูปแบบการให้บริการของผู้ประกอบการร้านอาหาร การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม โดยได้แยกกลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ออกเป็น 4 กลุ่ม ซึ่งประกอบด้วย ผู้ประกอบการร้านอาหาร,พนักงานในร้าน, ลูกค้าที่มาใช้บริการ, และผู้ใหญ่บ้าน รวมทั้งสิ้น 25 คน แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าและมาตรการต่างๆ ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้ประกอบการต้องหันมาปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิถีการเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำรงต่อไปได้อย่างยั่งยืน เช่น การปรับเปลี่ยนราคาของสินค้า รูปแบบการขาย เนื่องจากไม่ทำเหมือนเดิมต้องลดจำนวนลงเพื่อเป็นการไม่ให้วัตถุที่ชื้อมาต้องเสียเปล่า เนื่องจากลูกค้าที่มาใช้บริการลดน้อยลง 2) ปัจจุบันผู้ประกอบการร้านอาหารหน้าใหม่เข้ามาในตลาดเพิ่มมากขึ้น การทำธุรกิจแบบเดิมๆ ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ โดยนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายแก่ผู้ประกอบการและผู้ที่มาใช้บริการ จะสามารถสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าได้ 3) ปัจจุบันวัฒนธรรมการรับประทานของคนไทยเปลี่ยนไป ทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต้องหันมารับมือกับการที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า โดยบางร้านจะมีการนำเจลแอลกอฮอล์มาวางไว้ที่โต๊ะเป็นจุดๆ เพื่อให้ลูกค้าใช้ล้างมือก่อนใช้บริการและหลังใช้บริการ ต้องมีการสวมใส่หน้ากากอนามัยด้วยทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ พนักงานในร้าน หรือแม้กระทั้งลูกค้าที่จะเข้ามาใช้บริการ
Article Details
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563ก). คู่มือการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 สำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563ข). รายงานโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กิริยา กุลกลการ, อนันต์ ภาวสุทธิไพศิฐ และศุทธาภา นพวิญญูวงศ์. (2563). ผลกระทบของ COVID-19 ต่อการส่งเสริมการมีงานทำ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดาว ชุ่มตะขบ. (2563). เศรษฐกิจพอเพียง ทางเลือก ทางรอดฝ่าวิกฤตโควิด-19. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา, 2(3), 11-22.
ธิติวุฒิ อุดมชัยพร. (2563). สรุปเทรนด์ในวงการอาหาร 2020 ที่คนเปิดร้านควรรู้ จากงาน Wongnai for Business: Restaurant 2020. สืบค้นจาก https://www.beartai.com/tech/local-news/401551.
ประภาพร ดีสุขแสง และพนมสิทธิ์ สอนประจักษ์. (2564). การปรับตัวของร้านอาหารริมบาทวิถี (STREET FOOD) ช่วงสถานการณ์โควิด-19 ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 วันที่ 1 เมษายน 2564 มหาวิทยาลัยนเรศวร (น. 114-131). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วัฒนะ สุขขวัญ. (2563). ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อร้านอาหารที่ปรับตัวในช่วงวิกฤต covid-19 ในเขตกรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).