วัฒนธรรมทางการเมืองขององค์กรนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมทางการเมืองและบทบาทขององค์กรนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และ 2) เพื่อศึกษาเงื่อนไขที่มีผลให้เกิดวัฒนธรรมทางการเมืองขององค์กรนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลักด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง จำนวน 18 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1) วัฒนธรรมทางการเมืองขององค์กรนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด โดยรวมส่วนใหญ่นักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดมีประเพณีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมหรือแบบพลเมือง รองลงมามีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า แบบคับแคบหรือแบบผสมผสาน นักศึกษาบางกลุ่มมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการเมืองการปกครองหรือการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่างๆ ส่งผลถึงระบบการคิดและวิธีคิดของนักศึกษา ซึ่งนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ต่างๆ ได้ โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้จากการทำกิจกรรมทางการเมืองโดยผ่านหน่วยงานหรือองค์กรอื่นๆ 2) เงื่อนไขที่มีผลให้เกิดวัฒนธรรมทางการเมืองขององค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด มาจากปัจจัยหลัก 4 ประการ คือ ด้านการรับรู้เกี่ยวกับชาติ ด้านการรับรู้โครงสร้างและบทบาท ด้านการรับรู้การบริหารงานรัฐ และด้านการรับรู้เกี้ยวกับสิทธิเสรีภาพของตน องค์การนักศึกษารับรู้และทราบถึงระบบการเมืองการปกครองของประเทศไทย และยังสามารถรับรู้ถึงกระบวนการทำงานของรัฐตลอดจนทรายถึงสิทธิหน้าที่ของตนเอง
Article Details
References
ขนิษฐา จิราภรณ์สิริกุล. (2541). วัฒนธรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่กรณีศึกษานักเรียนโรงเรียนบางกะปี. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต).
ทินพันธุ์ นาคะตะ. (2543). พระพุทธศาสนากับสังคมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: หจก. สหายบล็อก และการพิมพ์.
ประสาน หอมพูล และทิพวรรณ หอมพูล. (2540). จิตวิทยาธุรกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
ประสิทธิ์ สวาสดิ์ญาติ. (2519). วัฒนธรรมทางการเมืองในการเมืองและสังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2531). รัฐศาสตร์เชิงประจักษ์. กรุงเทพฯ: ธนวิชช์การพิมพ์.
พฤทธิสาณ ชุมพล. (2547). ระบบการเมือง: ความรู้เบื้อต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วุฒิศักดิ์ บุตนุ. (2550). วัฒนธรรมทางการเมืองของชาวบ้าน: ศึกษาเฉพาะกรณีชาวบ้านหมู่บ้านหวายหลึม (หมู่ที่ 3, 6, 9 และ 10) ตำบลมะบ้า กิ่งอำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
สุมาลย์ ช่วยรักษา. (2546). วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนักเรียน โรงเรียนสารวิทยา เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก).