การยอมรับบทบาทผู้นำท้องที่สตรีอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

ขวัญเมือง ขันธวุธ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทและการยอมรับบทบาทผู้นำท้องที่สตรีอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมบทบาทผู้นำท้องที่สตรีอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธี ที่ศึกษาจากประชากร คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพศชายในเขตอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 121 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 15 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงจากผู้ให้ข้อมูล คือ นายอำเภอ ปลัดอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า 1) การยอมรับบทบาทผู้นำท้องที่สตรีอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยสอดคล้องกับข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์ว่าปัจจุบันผู้นำท้องที่สตรีได้รับการยอมรับบทบาทมากขึ้นจากอดีต ด้วยคุณสมบัติและโอกาสในการแสดงออกของสตรี ทั้งในด้านความรู้ความสามารถ ความกระตือรือร้น และคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ลักษณะของการทำงานก็จะมีความยืดหยุ่นและละเอียดรอบครอบมากกว่าผู้นำท้องที่ชาย ส่งผลต่อจำนวนผู้นำท้องที่สตรีในอำเภอธวัชบุรีที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น 2) แนวทางการส่งเสริมบทบาทผู้นำท้องที่สตรีอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด คือจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งการให้คำปรึกษา คำแนะนำทั้งในลักษณะไม่เป็นทางการและที่เป็นการอย่างในการประชุมประจำดือนของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ควรเสริมทักษะด้านภาวะความเป็นและจัดให้ผู้นำสตรีมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางต่างๆ อย่างต่อเนื่องและมีการยกย่องเชิดชูผู้นำท้องที่สตรีที่มีผลการปฏิบัติงานได้อย่างยอดเยี่ยม อันจะเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้นำท้องที่สตรีมีพลังกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ประทีป จงสืบธรรม. (2528). ผู้นำสตรีในการปกครองระดับท้องถิ่นของไทย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปาริชาติ คณะธรรม. (2546). การเปลี่ยนแปลงบทบาทหญิงชายภายหลังเข้าสู่ระบบการเลี้ยงโคนมของ ครอบครัวเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

ไพลิน ภู่จีนาพันธุ์. (2560). บทบาทผู้หญิงในการสร้างความเสมอภาคทางการเมืองและงานอาสาสมัครพัฒนาสังคม. วารสารสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร, 14(1), 163-203.

มาลียา วงศ์รัตนมัจฉา. (2547). การยอมรับบทบาททางการเมืองของผู้นำสตรีลีซอในหมู่บ้านลีซอแม่แตะ ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

รวิวรรณ วรรณพานิชย์. (2542). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับบทบาททางการเมืองของผู้นำสตรีท้องถิ่น: ศึกษากรณีกำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่เป็นสตรียอดเยี่ยมประจำ 2540. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

วิยุทธ์ จำรัสพันธุ์. (2535). แนวคิด บทบาท และปัญหาในการพัฒนาของผู้นำสตรีชนบทอีสาน. มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ (มหาวิทยาลัยขอนแก่น), 10(1), 61-74.

สมิหรา จิตตลดากร. (2529). ภาวะผู้นำของสตรีในการปกครองท้องที่ของไทย. (รัฐศาสตรดุษฎี, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

อำเภอธวัชบุรี. (2558). บัญชีการเบิกจ่ายคำตอบแทนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนันและแพทย์ประจำตำบล อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด: อำเภอธวัชบุรี.