การถ่ายทอดมุมมองของสถาบันครอบครัวผ่านบทเพลงลูกทุ่งอีสาน กรณีศึกษา : ศิริพร อำไพพงษ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ภาพสะท้อนสถาบันครอบครัวผ่านบทเพลงลูกทุ่งอีสาน และ (2) ปัญหาภาพสะท้อนสถาบันครอบครัวผ่านบทเพลงลูกทุ่งอีสาน เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพที่ต้องการอธิบายปรากกฎการณ์ที่เกิดขึ้น การเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 14 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1) ภาพสะท้อนสถาบันครอบครัวผ่านบทเพลงลูกทุ่งอีสาน พบว่า ด้านความรู้สึก ด้านอารมณ์ความรู้สึก ด้านพฤติกรรมของประชาชนของแต่ละบุคคล มีการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไป ช่วยให้เป็นแรงกระตุ้นในการใช้ชีวิตประจำวันรวมถึงการกระทำที่แสดงออกถึงความผิดหวัง 2) ผลการศึกษาปัญหาภาพสะท้อนสถาบันครอบครัวผ่านบทเพลงลูกทุ่งอีสาน พบว่า ภาพสะท้อนสถาบันครอบครัวผ่านบทเพลงลูกทุ่งอีสาน ทำให้เกิดความขัดแย้งของสมาชิกในครอบครัว เช่น สามีภรรยามีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ไม่เข้าใจกันหรือไม่รับฟังความคิดเห็นของกันและกัน แต่ละบุคคลฟังบทเพลงแล้วรู้สึกนึกคิด สะท้อนถึงปัญหาของตนเองส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่รุนแรง ข้อเสนอแนะจากการการวิจัย ควรมีการศึกษาการถ่ายทอดมุมมองของสถาบันครอบครัวผ่านบทเพลงลูกทุ่งอีสานว่ามีการเปลี่ยนแปลงของสังคมตามยุคสมัย และเพลงลูกทุ่งอีสานในแนวอื่นๆ หรือศึกษาเพลงลูกทุ่งกับเพลงลูกทุ่งอีสานแนวอื่นๆ อาจทำให้เห็นความแตกต่างในด้านใช้ภาษาและการสะท้อนภาพสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
Article Details
References
กรมวิชาการ. (2542). รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาสภาพการเรียนรู้จากหนังสือของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ.
เกศราพร พรหมนิมิตกุล. (2555). ความงามของภาษาในเพลงลูกทุ่ง: กรณีศึกษาเพลงฮิตติดชาร์ตลูกทุ่งมหานคร. มนุษยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยนเรศวร), 9(2), 83-100.
จันทรดา เขียวแก่. (2547). วิถีชีวิตของสังคมชนบทไทยในเพลงลูกทุ่ง. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม).
เจนภพ จบกระบวนวรรณ. (2530). ข้อคิดและวัฒนธรมศรัทธาบางอย่างของเพลงลูกทุ่ง. ถนนดนตรี, 2(1), 32-35.
ธาดา ชันสร. (2553). ภาพลักษณ์ผู้ชายที่สะท้อนในเพลงลูกทุ่งอีสาน (พ.ศ. 2545-2551). การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
บุบผา เมฆศรีทองคำ. (2534). ศึกษาบทบาทของเพลงลูกทุ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิต : วิเคราะห์เนื้อหาของเพลงลูกทุ่งในช่วงปี 2532-2533. (วารสารศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
ศักดิ์ชัย มโนวงศ์. (2544). พฤติกรรมทางจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
เอนก นาวิกมูล. (2527). เพลงนอกศตวรรษ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.