การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง บ้านโพนครก ตำบลโพนครก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นของบ้านโพนครก 2) รูปแบบในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน บนพื้นฐานภูมปัญญาท้องถิ่นตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านโพนครก และ 3) การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น บ้านโพนครก ตำบลโพนตรก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า 1) บ้านโพนครกมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญ ได้แก่ ผ้าไหมทอมือ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมและเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น การจักสานเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน ที่สามารถผลิตได้เองมาช่วยให้เกิดความสะดวกสบาย 2) รูปแบบในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนบนพื้นฐานภูมปัญญาท้องถิ่นตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านโพนครก การพัฒนาเริ่มต้นด้วยการสร้างความเข้าใจและการเรียนรู้ในชุมชนเองเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยให้ชุมชนเข้าใจถึงความสำคัญของการใช้ทรัพยากรอย่างมีเหตุผลและยั่งยืน การสร้างศูนย์กลางการเรียนรู้ ส่งเสริมการร่วมมือและการพัฒนาทักษะในการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน สร้างความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรสากล เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้ยั่งยืน 3) การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านโพนครกนั้น ไม่เพียงแต่ทำให้ประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิมมีอยู่ต่อไป แต่ยังเป็นการสร้างความเข้าใจและความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเสริมสร้างเศรษฐกิจและความเจริญทางสังคมในชุมชนด้วย การรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นสิ่งสำคัญที่ชุมชนทุกแห่งควรให้ความสำคัญและร่วมมือกันในการถ่ายทอดและสืบสานต่อไป
Article Details
References
คณกร สว่างเจริญ, ลักษณา เกยุราพันธ์ และพงษ์พันธ์ นารีน้อย. (2566). รูปแบบนวัตกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในจังหวัด นครนายก. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(10), 663-680.
ธัชพล ยรรยง, พระมหากิตติ กิตฺติเมธี และพระมหาอนันต์ องฺกุรสิริ. (2561). กระบวนการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนกรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชนจังหวัดน่าน (รายงานการวิจัย). น่าน: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.
ธันยชนก ปะวะละ, นริศรา คําสิงห์, อมร โททํา และชัยธวัช ศิริบวรพิทักษ์. (2560). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนกับสิ่งแวดล้อมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของตำบลกําพี้ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม (รายงานการวิจัย). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์ และสุธี โกสิทธิ์. (2563). รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นไทย 4.0. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(2), 289-304.
พระปลัดวัชระ วชิรญาโณ, สิรภพ สวนดง และพระมหาสุพร รกฺขิตฺตธมฺโม. (2564). รูปแบบการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในประเพณีเชิงพุทธของประชาชนในจังหวัดสุรินทร์. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 7(1), 27-40.
ภัทรพล ชุ่มมี. (2565). การวิเคราะห์องค์ประกอบนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กสาขาอาหาร. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 7(3), 217-230.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2534). ภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยศึกษา.
อรชร ไกรจักร์ และขันทอง วัฒนะประดิษฐ์. (2563). ชุมชนบางวัว: สร้างต้นกล้าจิตสาธารณะ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(1), 45-55.