การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแบบไตรมิติของชุมชนบ้านเทนมีย์ ตำบลเทนมีย์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) มิติด้านบริบทพื้นที่ของชุมชนบ้านเทนมีย์ ตำบลเทนมีย์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 2) มิติด้านวิถีชีวิตความเป็นมาของชุมชนบ้านเทนมีย์ ตำบลเทนมีย์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 3) มิติด้านแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญในชุมชนบ้านเทนมีย์ ตำบลเทนมีย์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ตัวแทนชุมชน 25 คน ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง นำมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านบริบทพื้นที่ของชุมชนบ้านเทนมีย์ เป็นชื่อของนายพราน ซึ่งได้อพยพมาจากบ้านเมืองที่ชื่อเปรียณมัย หรือพรานมีย์ ทางราชการจึงเรียกว่าบ้านเทนมีย์ ปัจจุบันมีครัวเรือนทั้งหมด 132 ครัวเรือน จำนวนประชากรทั้งหมด 473 คน มีเนื้อที่ประมาณ 3,250 ไร่ 2) วิถีชีวิตและความเป็นมาของชุมชนมีความหลากหลายและมีความเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ สภาพภูมิศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม ชุมชนส่วนใหญ่พูดภาษาเขมรและภาษาไทย นับถือศาสนาพุทธ มีวัดบ้านเทนมีย์เป็นศูนย์รวมความเชื่อ และการปฏิบัติตนในทางที่ดีตามหลักธรรมคำสอนทางศาสนา 3) ด้านแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญในชุมชนบ้านเทนมีย์ อาชีพหลักในการทำนา อาชีพเสริมมีปลูกหม่อน เลี้ยงไหม และทอผ้าไหม แปรรูปผ้าไหม ส่วนหนึ่งจะออกไปรับจ้างนอกหมู่บ้าน ประชาชนในหมู่บ้านน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ นอกจากนี้ครัวเรือนใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ในหมู่บ้านนี้มีการผลิตน้ำดื่มสะอาดเพื่อไว้ดื่มในชุมชนและสำหรับจำหน่ายให้หมู่บ้านและตำบลใกล้เคียง
Article Details
References
พระครูสารกิจประยุต (กาบ ฐานทตฺโต) และพระปลัดพนมภรณ์ ฐานิสฺสโร. (2564). ความสำคัญของพระพุทธศาสนากับการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, 7(2), 181-190.
พัทธพล สุขบรรณ, รวีวรรณ ตามสันเทียะ, จักรพันธ์ เสาร์ทอง และอธิมาตร เพิ่มพูน. (2566). แนวทางการพัฒนาการส่งเสริมอาชีพจากอัตลักษณ์ชุมชนบ้านใหม่ตำบลตระแสง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 1(3),15-26.
ภิรดา ชัยรัตน์. (2565). การรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเชิงพื้นที่ชุมชนตรอกวังหลัง เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(6), R169-R182.
วาสนา อาจสาลิกรณ์. (2561). วัฒนธรรมชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต).
สุรพล ซาเสน. (2565). บริบทสภาพทางภูมิศาสตร์และวิถีชีวิตของชุมชนบ้านหัวเรือจังหวัดอุบลราชธานี. วาสารมนุษยสังกมสาร (มสส.), 20(3), 207-229.
สุวิภา จําปาวัลย์ และนเรนทร์ ปัญญาภู. (2560). การรับรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ท้องถิ่น “พระนางจามเทวี” สู่แนวทางการพัฒนาในจังหวัดลําพูน. วารสารวิจิตรศิลป์, 8(2), 49-102.
อรวรรณ กองพิลา. (2560). ความหมายของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. สืบค้นจาก https://orawan1967.wordpress.com.