การป้องกันควบคุมโรคติดต่อและการดูแลผู้สูงอายุของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในเขตจังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาการป้องกันควบคุมโรคติดต่อและการดูแลผู้สูงอายุของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการป้องกันควบคุมโรคติดต่อและการดูแลผู้สูงอายุของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ 3) ศึกษาแนวทางการป้องกันควบคุมโรคติดต่อและการดูแลผู้สูงอายุของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเขตจังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเขตพื้นที่อุดรธานี จำนวน 385 คน กลุ่มผู้ให้ข้อเชิงคุณภาพ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ภาครัฐ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) การป้องกันควบคุมโรคติดต่อและการดูแลผู้สูงอายุของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเขตจังหวัดอุดรธานี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเอง อยู่ในระดับปานกลาง ด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ อยู่ในระดับปานกลาง และด้านการบอกต่อในการป้องกันดูแลสุขภาพ อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการป้องกันควบคุมโรคติดต่อและการดูแลผู้สูงอายุของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเขตจังหวัดอุดรธานี อย่างมีนัยสำคัญที่รัดับ .05 ได้แก่ ด้านส่งเสริมสุขภาพ (X1) และด้านการควบคุมและป้องกันโรค (X3) ตัวแปรอิสระทั้ง 2 ตัวมีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .585 และ .025 ตามลำดับ 3) ควรมีการสร้างและระบบข้อมูลข่าวสารการประชาสัมพันธ์ข้อมูลต่างๆ ผ่านสื่อโซเชียล มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารได้จากการที่เจ้าหน้าที่โทรศัพท์แจ้งข้อมูล จัดระบบรูปแบบการดูแลสุขภาพเพื่อให้เข้าถึงข้อมูลได้จากช่องทางต่างๆ และมีการจัดเก็บแฟ้มข้อมูลของผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
Article Details
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). กฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548 (2005). สืบค้นจาก https://www.who.int/docs/defaultsource/searo/thailand/ihr-thai.pdf?sfvrsn=9bb97cfd_0.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. (พิมพ์ครั้งที่12). กรุงเทพฯ: สามลดา.
นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์. (2565) แนวทางการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในช่วงการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แบบนิวนอร์มอล จังหวัดนครราชสีมา วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, 8(1), 165-179.
บงกช โมระสกุล และพรศิริ พันธสี. (2564). ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา และวิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 15(37), 179-195.
ศักดิ์สิทธิ์ บ่อแก้ว. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล จังหวัดสุโขทัย วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2, 7(2), 14-27.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. (2566). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดอุดรธานี. อุดรธานี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี.
สุทัศชญา จำนงค์, ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ และศริยามน ติรพัฒน์. (2567). การมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข, 10(1), 1-11.
สุภเนตร์ ชัยนา. (2562). แนวทางการพัฒนาบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครประจำหมู่บ้านด้านการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดต่อในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านจั่น อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20 วันที่ 15 มีนาคม 2562 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (น. 2032 - 2045). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุภาภรณ์ วงธิ. (2564) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย. (สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).
อิทธิพล ดวงจินดา, ชวนพิศ ศิริไพบูลย์ และศรีสุรางค์ เคหะนาค. (2564). การรับรู้ความสามารถของการดูแลตนเองและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด - 19 กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(4), 111-126.
Cohen, S. & Elimicke, W. (1998). Tools for Innovator. San Francisco, CA: Jossey-Bass Publishers.
World Health Organization. (2009). Hepatitis B vaccines. Weekly Epidemiological Record, 40(84), 405-420.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. (3rd ed.). New York: Harper. & Row.