พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

บุญเพ็ง สิทธิวงษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ 3) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานี จำนวน 400 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค (X1) ด้านการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค (X3) มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .191 และ .082 ตามลำดับ และ 3) ควรมีการสร้างความต้องการให้ตัวเองในการสร้างแรงจูงใจในการรักษาการดำรงชีวิต โดยมีเครือข่ายในการป้องกันการติดเชื้อโรค มีการป้องป้องรักษาและจัดวิทยากรที่ชำนาญให้ความรู้ ความเข้าในเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากช่องทางต่างๆ อยู่เสมอผ่านทางเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผ่านเว็บไซต์ต่างๆ อย่างทั่วถึงและสร้างองค์ความรู้ในการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนในบริบทต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค, กรมกระทรวงสาธารณสุข. (2563). กรอบแผนปฏิบัติราชการเชิงยุทธศาสตร์กรมควบคุมโรค ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.

กฤษฎา พรหมมุณี. (2565) พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19): กรณีศึกษาตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติเพื่อการตัดสินใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.

ชัยวัฒน์ แจ้งอักษร, จุฑาภรณ์ มาสันเทียะ, นภัทธัญญ์ ตัณฑเสน และนัทธ์หทัย กันทพงษ์. (2564). พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้เรียนในยุคชีวิตวิถีใหม่. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 1(3), 62–76.

บงกช โมระสกุล และพรศิริ พันธสี. (2564). ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด - 19 ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา และวิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 15(37), 179-195.

วิญญ์ทัญญู บุญทัน, พัชราภรณ์ ไหวคิด, วิภาพร สร้อยแสง, ชุติมา สร้อยนาค, ปริศนา อัครธนพล และจริยาวัตร คมพยัคฆ์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลตำรวจ, 12(2), 323-337.

สีตีปาตีฮะร์ อีลา, อิควาณี วานิ, อาฟีดะห์ ดอเลาะ, วัชระ ขาวสังข์ และปิยะดา มณีนิล. (2564). การแก้ปัญหาการรับมือและการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงเตี้ย อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ (น. 466-478). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สุคนธ์ทิพย์ บัวแดง, อนุพันธ์ สุวรรณพันธ์ และปรัชญานี คําเหลือ. (2566). การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา โดยใช้เครื่องมือธรรมนูญตำบล ตำบลตูม อำภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 32(5), 864-875.

อภิวดี อินทเจริญ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ จังหวัดสงขลา. (สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา).

World Health Organization [WHO]. (2009). Hepatitis B vaccines. Weekly Epidemiological Record, 40(84), 405-420.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.