การประยุกต์ใช้หลักความเชื่อและนวัตกรรมเพื่อรองรับนโยบายการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมในสถานการณ์โควิด-19 ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการประยุกต์ใช้หลักความเชื่อและนวัตกรรมเพื่อรองรับนโยบายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในสถานการณ์โควิด - 19 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการประยุกต์ใช้หลักความเชื่อและนวัตกรรมเพื่อรองรับนโยบายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในสถานการณ์โควิด - 19 และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักความเชื่อและนวัตกรรมเพื่อรองรับนโยบายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในสถานการณ์โควิด - 19 ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 400 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากกลุ่ม เจ้าหน้าที่รัฐและเจ้าหน้าที่หน่วยงานท้องถิ่น จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการประยุกต์ใช้หลักความเชื่อและนวัตกรรมเพื่อรองรับนโยบายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในสถานการณ์โควิด - 19 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการประยุกต์ใช้หลักความเชื่อและนวัตกรรมเพื่อรองรับนโยบายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในสถานการณ์โควิด - 19 ได้แก่ บทบาทเถรสมาคม (X4) บทบาทเจ้าอาวาส (X5) และบทบาทภาคของท้องถิ่น (X2) ตามลำดับ และ 3) ควรมีการสื่อสารให้มีการรับรู้ถึงกระบวนการในขั้นตอนการกำหนดนโยบายในการตัดสินใจ การวางแนวทางในการแก้ไขปัญหา การจัดทำร่างนโยบายเสนอแนะกลยุทธ์ในการดำเนินนโยบาย มีการชี้แจงในการรับรู้ในการประยุกต์ใช้หลักความเชื่อและนวัตกรรมเพื่อรองรับนโยบายการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และมีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติร่วมกันอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอมีการชี้แจงจัดประชุม สร้างความเข้าใจในการประยุกต์ใช้หลักความเชื่อและนวัตกรรม และการทำความเข้าใจในการประเมินและติดตามโยบาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้วิเคราะห์ประเมินผลนโยบายได้อย่างสอดคล้องกับพลวัตที่ทวีความซับซ้อนในสถานการณ์ปัจจุบัน
Article Details
References
กรมการท่องเที่ยว. (2560). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของประเทศ พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: พีดับ บลิว ปริ้นติ้ง.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.
กิตติมศักดิ์ คุ้มวงษ์. (2555). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม : กรณีศึกษาชุมชนวัดบางหัวเสือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. (ศิลปศาสตรมหา, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี).
ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทย, 13(2), 25-46.
บุญเพ็ง สิทธิวงษา. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกําหนดนโยบายแผนยุทธศาสตร์จังหวัดอุดรธานี. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 9(2), 636-646.
ประภาพร ยางประยงค์ และศศิธร สุวรรณรัตน์ (2564) การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษาย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา. Journal of Social Science and Humanities Research in Asia, 27(3), 87–110.
ประสารโชค ธุวะนุติ และชนัด เผ่าพันธุ์ดี. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในตำบลบางขุนไทร อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี. Academic Journal of Phetchaburi Rajabhat University, 12(1) 39–45.
ปิ่นฤทัย คงทอง และสุวารี นามวงศ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการพัมนาแหล่ง่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 12(2), 1-32.
ปิยธิดา เทพวงค์. (2560). การพัฒนารูปแบบการให้บริการสารสนเทศที่สนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย : กรณีศึกษาห้องสมุดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2557). พระพุทธศาสนากับวิทยาการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พัทธมน ภมรานนท์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
วรภพ วงค์รอด. (2557). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของชุมชนวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 9(26), 13–28.
สมเกียรติ ชัยพิบูลย์. (2550). การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา ศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร (รายงานวิจัย). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
สุกัญญา วงศ์เจริญชัยกุล. (2561). การศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. (3rd Ed.). New York: Harper & Row.